NDMI Archives
พื้นที่ Identity
รูปแบบชื่อที่กําหนดให้ใช้ได้
แบบฟอร์มขอชื่อเทียบเคียง
- Archives of National Discovery Museum Institute
- คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
พื้นที่ทำคำอธิบายเอกสาร
ประวัติศาสตร์
ความเป็นมา สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
วันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) เสนอว่า ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ไทยมีหลายประเทศ ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่หลายแห่งและอยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจและรู้จักแพร่หลายเท่าที่ควรสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป หากสามารถจัดหาสถานที่ที่เหมะสมแล้วจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ (hall) ด้านต่างๆให้ครบถ้วน ก็จะทำให้เป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปวิทยาการ รวมทั้งแสดงถึงวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศได้อย่างครบวงจรและเป็นที่น่าสนใจแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
วันที่ 7 และ 14 ตุลาคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้า เรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รวมที่จะจัดขึ้นใหม่ว่า ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชั้นนำของภูมิภาคที่มีลักษณะเป็นแหล่งรวมความรู้สาขาต่างๆ ในเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วที่เกี่ยวกับความเป็นไทย และส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานำเสนอ จะต้องมีการเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างพิพิธภัณฑ์ที่จะมีการจัดตั้งใหม่ รวมทั้งการดูแลในระยะยาว และเห็นชอบแนวทางการเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ประกอบด้วย หลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งคณะกรรมการ
1.หลักการ ต้องจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความริเริ่ม และสำนึกของความเป็นไทยซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากกระบวนทัศน์การจัดพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพคล่องตัวและทันสมัย
- กระบวนการ ในการดำเนินการต้องมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเปลี่ยน ภาพลักษณ์ ของพิพิธภัณฑ์จากเดิม มาเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างสู่พรมแดนแห่งความรู้ในหลายมิติ
3.จัดตั้งคณะกรรมการฯ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้จะต้องอาศัยสหวิทยาการเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการ ในชั้นแรกจึงต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการ ที่ได้รวบรวมผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆไว้
วันที่ 13 มกราคม 2547 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ให้เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2547 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)พ.ศ.2547 มีผลบังคับใช้
วันที่ 18 มิถุนายน 2547 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ 1/2547 มีมิตให้ประกาศจัดตั้ง สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นสถาบันที่ดูแลการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติขนาดใหญ่ (Museum Complex) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รื่นรมย์มีความสามารถเทียบได้กับพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลก (World Class Museum) สนับสนุนและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ เพื่อยักระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพทั้งระบบ
ความหมาย "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" แหล่งเรียนรู้ที่ให้ความสู่สาธารณชน เรื่องความเป็นมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย และดินแดนอื่นในอุษาคเนย์
รวมทั้งภูมิศาสตร์ สร้างสำนึกรักและเข้าใจผู้คนบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน และเชื่อมดยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค
พันธกิจ เพื่อสร้าง เพิม่พูนและเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตัวเอง รู้จักเพื่อนบ้านและรู้จักดลกแก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิง่เด็กและเยาวชน ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติขนาดใหญ่ และร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้รื่นรมย์ ด้วยเทคดนโลยีที่ทันสมัย ในการเผยแพร่ความรู้ ได้แก่ ความรุ้ที่ควรมีเพื่อสร้างสำนึกรู้จักตยเอง รู้จักเพื่อนบ้านและรู้จักโลกให้กว้างขวาง และความรู้ที่มี นัยสำคัญต่อการพัฒนาสังคมไทย และ/หรือ เป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนจุดแข็งของคนไทยและประเทศไทย
2.สร้างความรู้ใหม่ ๆให้เกิดขึ้น ด้วยการวิจัย การจัดแสดง และกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งจัดทำคลังความรู้ของสถาบัน เพื่อให้มีการพัฒยาและเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
3.ส่งเสริมการพัฒนาและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์อื่นๆ จัดให้เป็นระบบพิพิธภัณฑ์ของทั้งประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้
และการบริหารการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทย ให้มีคุณภาพประสิทธิภาพทั้งระบบ
4.ให้มีห้องสมุดทางด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาที่ใหญ่ที่สุด และให้การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความชำนาญแะลโอกาสทางวิชาชีพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์
เป้าหมายหลัก 2 ประการคือ
- เผยแพร่ความรู้ในหมู่ประชาชนและเยาวชนไทย
- สร้างความรุ้ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์
1.ด้านเนื้อหาองค์ความรู้ (Content) ใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการส้รางเนื้อหา นำเสนอแก่นเรื่องแบบบูรณาการ (Integrated Thematic Approach)ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ โดยใช้ทักษะของการเล่าเรื่อง(Story Telling) แทนการเน้นแต่วัตถุ (object-based)สร้างความมีชีวิตให้แก่พิพิธภัณฑ์ โดยมีทั้งการจัดแสดงแบบถาวรและแบบหมุนเวียน มีกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
บริบททางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและสังคมไทย
เอกสารที่ / แหล่งที่มาของอำนาจ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547
Administrative structure
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ประกอบด้วยหน่วยงานหลักจำนวน 7 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สำนักงานผู้อำนวยการ ประกอบด้วย แผนกการบริหารยุทธศาสตร์ แผนกแผนงานและงบประมาณ และงานเลขานุการ
- ฝ่ายอำนวยการ ประกอบด้วย แผนกการเงินและบัญชี แผนกงานพัสดุ และงานบริหารทั่วไป
- ฝ่ายมิวเซียมสยาม ประกอบด้วย แผนกมิวเซียมสยาม แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ และแผนกกิจกรรมการเรียนรู้
- ฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วย แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ แผนกการศึกษาและสื่อการเรียนรู้ และแผนกคลังความรู้
- ฝ่ายเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย แผนกจัดตั้งและจัดการพิพิธภัณฑ์ แผนกพัฒนาเครือข่ายและกิจกรรมสัมพันธ์ และแผนกคลังโบราณวัตถุและการอนุรักษ์
- ฝ่ายสื่อการการตลาด ประกอบด้วย แผนกพัฒนาธุรกิจและการตลาด แผนกสื่อสารและประชาสัมพันธ์ แผนกบริหารงานร้านค้า และแผนกสื่อและสิ่งพิมพ์
- ฝ่ายเทคโนโลยีและบริหารพื้นที่ ประกอบด้วย แผนกบริหารพื้นที่ แผนกบริหารและพัฒนาระบบเทคโนโลยี และแผนกพิพิธภัณฑ์เสมือน
การจัดการบันทึกและนโยบายการรวบรวม
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บเอกสารของหน่วยงานและหน่วยงานย่อยที่สิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานย่อยในการจัดส่ง/โอนย้ายเอกสารมายังแผนกคลังความรู้ เพื่อดำเนินการลงรายการข้อมูลและนำข้อมูลเข้าคลังข้อมูล
สถานที่เก็บเอกสาร
วัตถุดิจิทัลที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บ ประกอบด้วย วัตถุที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมถึง รายงานการประชุม คำสั่ง แผนงาน แผนผัง เอกสารดำเนินงาน สิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และโบราณวัตถุที่ขุดพบระหว่างการก่อสร้างสถาบันฯ
เครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ, คู่มือ และ การพิมพ์
พื้นที่เข้าถึง
เวลาเปิด
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. โดยปิดบริการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามประกาศราชการ
เงื่อนไขและข้อเรียกร้องในการเข้าถึง
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มิวเซียมสยาม เปิดบริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.)
เยาวชน อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้พิการและทุพพลภาพ รวมถึงมัคคุเทศน์ เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประชาชน นักท่องเที่ยว อัตราค่าเข้าชม
คนไทย คนละ 100 บ.
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 บ.
นักเรียน นักศึกษา 50 บ.
ตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ของทุกวันทำการเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันที่ประกาศโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
(หมายเหตุ : มัคคุเทศน์ต้องแสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
ความสามารถในการเข้าถึง
การเดินทาง
- ทางเรือ โดยลงเรือที่ท่าราชินีหรือท่าเตียน
- ทางรถโดยสารประจำทาง หมายเลข 3, 6, 9, 12, 32, 44, 47, 53, 82, 524
- รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ (มีที่จอดรถ ไม่คิดค่าบริการ)
- รถยนต์ส่วนบุคคล (มีที่จอดรถ ค่าบริการตามอัตราที่กำหนด)
บริการพื้นที่
บริการงานวิจัย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) โดยมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้บริการนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ในส่วนของคลังจดหมายเหตุดิจิทัล ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้บางส่วนผ่านเว็บไซต์คลังจดหมายเหตุดิจิทัลหรือขอให้บริการได้ที่แผนกคลังความรู้ (ห้องสมุด) ของสถาบันฯ
บริการทำสำเนา
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้บริการทำสำเนาเอกสารในบางกรณีหรือภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
พื้นที่สาธารณ
มีร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ
ข้อมูลเกี่ยวกับควบคุม
การทำคำอธิบายเอกสารidentifier
กฎระเบียบและ / หรือข้อตกลง
จุดเชื่อมต่อ
Access Points
- Arts and Culture (Thematic area)