Primary contact
4 ถนนสนามไชย แขวงบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
, กรุงเทพมหานคร
TH 10200
NDMI Archives
ความเป็นมา สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
วันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) เสนอว่า ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ไทยมีหลายประเทศ ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่หลายแห่งและอยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจและรู้จักแพร่หลายเท่าที่ควรสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป หากสามารถจัดหาสถานที่ที่เหมะสมแล้วจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ (hall) ด้านต่างๆให้ครบถ้วน ก็จะทำให้เป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปวิทยาการ รวมทั้งแสดงถึงวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศได้อย่างครบวงจรและเป็นที่น่าสนใจแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
วันที่ 7 และ 14 ตุลาคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้า เรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รวมที่จะจัดขึ้นใหม่ว่า ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชั้นนำของภูมิภาคที่มีลักษณะเป็นแหล่งรวมความรู้สาขาต่างๆ ในเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วที่เกี่ยวกับความเป็นไทย และส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานำเสนอ จะต้องมีการเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างพิพิธภัณฑ์ที่จะมีการจัดตั้งใหม่ รวมทั้งการดูแลในระยะยาว และเห็นชอบแนวทางการเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ประกอบด้วย หลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งคณะกรรมการ
1.หลักการ ต้องจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความริเริ่ม และสำนึกของความเป็นไทยซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากกระบวนทัศน์การจัดพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพคล่องตัวและทันสมัย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและสังคมไทย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ประกอบด้วยหน่วยงานหลักจำนวน 7 หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บเอกสารของหน่วยงานและหน่วยงานย่อยที่สิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานย่อยในการจัดส่ง/โอนย้ายเอกสารมายังแผนกคลังความรู้ เพื่อดำเนินการลงรายการข้อมูลและนำข้อมูลเข้าคลังข้อมูล
วัตถุดิจิทัลที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บ ประกอบด้วย วัตถุที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมถึง รายงานการประชุม คำสั่ง แผนงาน แผนผัง เอกสารดำเนินงาน สิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และโบราณวัตถุที่ขุดพบระหว่างการก่อสร้างสถาบันฯ
ทะเบียนเอกสาร
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. โดยปิดบริการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามประกาศราชการ
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มิวเซียมสยาม เปิดบริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.)
เยาวชน อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้พิการและทุพพลภาพ รวมถึงมัคคุเทศน์ เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประชาชน นักท่องเที่ยว อัตราค่าเข้าชม
คนไทย คนละ 100 บ.
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 บ.
นักเรียน นักศึกษา 50 บ.
ตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ของทุกวันทำการเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันที่ประกาศโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
(หมายเหตุ : มัคคุเทศน์ต้องแสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
การเดินทาง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม (Museum Siam) โดยมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้บริการนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ในส่วนของคลังจดหมายเหตุดิจิทัล ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้บางส่วนผ่านเว็บไซต์คลังจดหมายเหตุดิจิทัลหรือขอให้บริการได้ที่แผนกคลังความรู้ (ห้องสมุด) ของสถาบันฯ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ให้บริการทำสำเนาเอกสารในบางกรณีหรือภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
มีร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ
Final
Partial
2016-05-07