ศาลพระภูมิ

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศาลพระภูมิ

Equivalent terms

ศาลพระภูมิ

Associated terms

ศาลพระภูมิ

3 Archival description results for ศาลพระภูมิ

3 results directly related Exclude narrower terms

พระภูมิ

ประวัติของศาลพระภูมิมีตำนานเล่าขาลมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ในสมัยของพระเจ้าทศราชครองเมืองพาลี ที่ทรงมีพระมเหสีนามว่า นางสันทาทุกข์ และทรงได้คลอดโอรส 9 พระองค์ นามว่า พระชัยมงคล พระนครราช พระเทเพน พระชัยสพ พระคนธรรพ์ พระธรรมโหรา พระวัยทัต พระธรรมิราช และพระทาษธารา ซึ่งทั้งหมดมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภูมิเหมือนกัน หหลังจากเติบใหญ่พระเจ้าทศราชทรงให้ออกครองภูมิสถานประจำในสถานที่ต่างๆกัน เมื่อครั้งกาลเวลาผ่านไปจนสิ้นอายุขัยพระโอรสทั้ง 9 องค์ก็ยังทรงครองภูมิตัวเองอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น พระองค์ทรงขอพื้นที่ของพระภูมิจากโอรสทั้ง 9 แต่ด้วยเหตุที่ทำให้โอรสทั้ง 9 ต้องออกจากภูมิตัวเองจึงเป็นที่ลำบากจนต้องขอกลับมาอยู่ที่ภูมิของตนจากพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตพร้อมได้พรว่า ผู้ที่จะกระทำการใดๆที่เกี่ยวกับพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ ควรสักการบูชาพระภูมิเสียก่อน จึงจะได้รับความสุข และลาภผลในตน ตั้งแต่นั้นมาก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหากมีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นดินหรือสถานที่จึงมักมีการสักการะพระภูมิเสมอ

ด้วยเหตุนี้ พระภูมิจึงเป็นความเชื่อของคนไทย และชาวพุทธทั่วไปถึงพิธีมงคลที่ทำต่อพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆต้องมีการสักการะพระภูมิเสมอ โดยมีหลักความเชื่อต่อมาว่าควรจัดทำบ้านจำลอง วังจำลองหรือที่เราเรียกว่า ศาลพระภูมิ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระภูมิไว้สำหรับเป็นสถานสักการะหากมีพิธีมงคลต่างๆ โดยมีความเชื่อว่า พื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ จะมีพระภูมิเฝ้าประจำในแต่ละสถานเสมอ ซึ่งมักมองภาพถึงคนที่แต่งชุดโจงกระเบนสีขาว และสวมหมวกเป็นฉัตรปลายแหลมเสมอ ที่คอยปกปักรักษา คุ้มครองภัยอันตรายจากสิ่งอัปมงคลต่างๆไม่ให้เข้าสู่สถานที่แห่งนั้นหรือมาพบพาลสร้างสิ่งอัปมงคลแก่ผู้ถือครองที่นั้นๆ

การเตรียมความพร้อมศาลพระภูมิ

ในการจัดเตรียมศาลพระภูมิก่อนการสักการะ จะมีการนำบายศรีเทพมาบูชา ซึ่งประกอบด้วยองค์บายศรี 16 นิ้ว เรียกว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง 16 ชั้นฟ้า มี 4 องค์ และมีลูก 9 นิ้ว อีก 4 องค์ รวมเป็น 8 ทิศ ตามความเชื่อที่ว่า ทิศทั้ง 8 ทิศ มีเทพปกปักรักษาคุ้มครองอยู่ บายศรีเทพบางแห่งจะเรียกว่า บายศรีพรหมเทพ ความสำคัญของบายศรีเทพ นิยมถวายเป็นคู่ หรือจะถวายเดี่ยวก็ได้ แต่ถ้าถวายเดี่ยว ควรตั้งบายศรีไว้ตรงกลาง ใช้ในโอกาสต่างๆ ดังนี้

  1. การบูชาพระ
  2. พิธีการบวงสรวงเทวดาอารักษ์
  3. พิธีการไหว้ครูประจำปี
  4. การบูชาองค์เทพที่อยู่ในชั้นเทวโลกทุกๆ ชั้น
  5. ใช้สำหรับต้อนรับองค์เทพที่อยู่บนสวรรค์ชั้นเทวโลก
    นำดอกกล้วยไม้ ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จ และเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงมิตรภาพ ความงดงาม ความบริสุทธิ์และพวงมาลัยดอกดาวเรือง ซึ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มาบูชา

เครื่องรางของขลัง : ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ในสมัยหนึ่งผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ พระนามว่า “ท้าวทศราช” ปกครองนคร “กรุงพาลี” ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม พระนารายณ์จึงอวตารลงมาปราบและขับไล่พระเจ้ากรุงพาลีพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ ราษฎรจึงอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายท้าวทศราชต้องพบกับความยากลำบากจึงสำนึกผิด และเข้าเฝ้าพระนารายณ์ เพื่อขออภัยโทษ และปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษและอนุญาตให้ท้าวทศราชและครอบครัวกลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด