ประวัติศาสตร์ไทย

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

ประวัติศาสตร์ไทย

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ประวัติศาสตร์ไทย

คำศัพท์Associated

ประวัติศาสตร์ไทย

4 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for ประวัติศาสตร์ไทย

4 results directly related Exclude narrower terms

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

นิทรรศการ ชุด ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการประสานวัย

ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดในการเสนอประเด็นประวัติศาสตร์ผ่านการมีส่วนร่วมของสังคมด้วยกระบวนการพิพิธภัณฑ์

แนวคิดสำคัญ ประการแรก คือ การระลึกถึงถนนสายที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทย ๑๒๑ ปีของถนนสายนี้เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมอันพึงจารึกจดจำ และแนวคิดที่สอง คือ ปรากฏการณ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรไทย

มิวเซียมสยามได้ตอบสนองปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยการจัดอบรมปฏิบัติการให้กลุ่มผู้สูงวัย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ภัณฑารักษ์วัยเก๋า” ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และได้ทำงานร่วมกับคนวัยเก๋าทั้ง ๑๖ ท่านในงานนิทรรศการนี้ ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย จึงเป็นการปะทะประสานมุมมองของคนต่างวัย ต่างประสบการณ์ที่ล้วนล่องอยู่ในรอยแห่งราชดำเนิน

นิทรรศการจัดแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 : การแนะนำนิทรรศการและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของถนนราชดำเนินผ่านการเล่าเรื่องแบบเส้นเวเลา (Timeline) และใช้สื่อวิดิทัศน์ในการนำเสนอ

ส่วนที่ 2 : “ล่อง รอย” ที่นำเสนอประวัติศาสตร์การประชันทางความคิดของคนหลายยุคหลายสมัยบนถนนราชดำเนินที่สามารถเดินชมไปพร้อมกับการใช้สื่อดิจิตัล ได้แก่ สมาร์ทโฟน และหูฟังเป็นเครื่องมือในการชมเส้นสายแห่งประสบการณ์เรื่องเล่าใน 8 เส้นทาง โดยผู้เข้าชมจะรู้สึกสนุกไปกับเสียงบรรยายประกอบจากคณะเกศทิพย์ นักพากย์นิยายวิทยุที่โด่งดังอยู่ช่วงหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าถึงเหตุการณ์ในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ 3 : แสดงถึงสถานที่สำคัญบนถนนราชดำเนิน โดยจำลองแลนด์มาร์คสำคัญบนถนนราชดำเนินพร้อมเล่าเรื่องราวไปกับวัตถุจัดแสดงที่ได้รับมาจากผู้ที่สนใจร่วมแบ่งปันประสบการณ์ก่อนหน้านี้

ส่วนที่ 4 : นิทรรศการของภัณฑารักษ์วัยเก๋า เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของนิทรรศการที่ได้คัดคนหนุ่มสาวยุคเบบี้บูมเมอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ โดยได้รับการฝึกอบรม ปฏิบัติการเรียนรู้จากมิวเซียมสยาม เรื่องเทคนิคการเล่าเรื่อง การถ่ายภาพ และตัดต่อวิดีทัศน์ด้วยมือถือ และนำผลงานเหล่านี้มาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกัน

ระยะเวลาจัดแสดง

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์) ณ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1 ไม่เสียค่าเข้าชม
  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณสี่แยกคอกวัว

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เรื่องของหัว

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของคนไทยโดยใช้หมวกในการบอกเล่าเรื่องราว

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. วิธีการดำเนินการ
  5. สถานที่จัดนิทรรศการ
  6. ระยะเวลาดำเนินการ
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า

เอกสารโครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง กินของเน่า แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในมุมมองใหม่

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง