พระภูมิ

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พระภูมิ

Equivalent terms

พระภูมิ

Associated terms

พระภูมิ

3 Archival description results for พระภูมิ

Only results directly related

พิธีไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่

2 เมษายน ของทุกปี คือวันครบรอบวันเปิดบริการมิวเซียม ซึ่งวันที่ 2 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2560 นี้ครบรอบ 9 ปี ทางเจ้าหน้าที่ สพร. จึงจัดเตรียมของไหว้เพื่อสักการะพระภูมิเจ้าที่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงานและคนทำงานทุกคน

ทำบุญครบรอบ 10 ปี มิวเซียมสยาม

2 เมษายน ของทุกปี คือวันครบรอบวันเปิดบริการมิวเซียม ซึ่งวันที่ 2 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2561 นี้ครบรอบ 10 ปี ทางเจ้าหน้าที่ สพร. จึงจัดเตรียมของไหว้เพื่อสักการะพระภูมิเจ้าที่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงานและคนทำงานทุกคน

พระภูมิ

ประวัติของศาลพระภูมิมีตำนานเล่าขาลมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ในสมัยของพระเจ้าทศราชครองเมืองพาลี ที่ทรงมีพระมเหสีนามว่า นางสันทาทุกข์ และทรงได้คลอดโอรส 9 พระองค์ นามว่า พระชัยมงคล พระนครราช พระเทเพน พระชัยสพ พระคนธรรพ์ พระธรรมโหรา พระวัยทัต พระธรรมิราช และพระทาษธารา ซึ่งทั้งหมดมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภูมิเหมือนกัน หหลังจากเติบใหญ่พระเจ้าทศราชทรงให้ออกครองภูมิสถานประจำในสถานที่ต่างๆกัน เมื่อครั้งกาลเวลาผ่านไปจนสิ้นอายุขัยพระโอรสทั้ง 9 องค์ก็ยังทรงครองภูมิตัวเองอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น พระองค์ทรงขอพื้นที่ของพระภูมิจากโอรสทั้ง 9 แต่ด้วยเหตุที่ทำให้โอรสทั้ง 9 ต้องออกจากภูมิตัวเองจึงเป็นที่ลำบากจนต้องขอกลับมาอยู่ที่ภูมิของตนจากพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตพร้อมได้พรว่า ผู้ที่จะกระทำการใดๆที่เกี่ยวกับพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ ควรสักการบูชาพระภูมิเสียก่อน จึงจะได้รับความสุข และลาภผลในตน ตั้งแต่นั้นมาก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหากมีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นดินหรือสถานที่จึงมักมีการสักการะพระภูมิเสมอ

ด้วยเหตุนี้ พระภูมิจึงเป็นความเชื่อของคนไทย และชาวพุทธทั่วไปถึงพิธีมงคลที่ทำต่อพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆต้องมีการสักการะพระภูมิเสมอ โดยมีหลักความเชื่อต่อมาว่าควรจัดทำบ้านจำลอง วังจำลองหรือที่เราเรียกว่า ศาลพระภูมิ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระภูมิไว้สำหรับเป็นสถานสักการะหากมีพิธีมงคลต่างๆ โดยมีความเชื่อว่า พื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ จะมีพระภูมิเฝ้าประจำในแต่ละสถานเสมอ ซึ่งมักมองภาพถึงคนที่แต่งชุดโจงกระเบนสีขาว และสวมหมวกเป็นฉัตรปลายแหลมเสมอ ที่คอยปกปักรักษา คุ้มครองภัยอันตรายจากสิ่งอัปมงคลต่างๆไม่ให้เข้าสู่สถานที่แห่งนั้นหรือมาพบพาลสร้างสิ่งอัปมงคลแก่ผู้ถือครองที่นั้นๆ