ปริศนาแห่งลูกปัด

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

ปริศนาแห่งลูกปัด

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ปริศนาแห่งลูกปัด

คำศัพท์Associated

ปริศนาแห่งลูกปัด

10 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for ปริศนาแห่งลูกปัด

10 results directly related Exclude narrower terms

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม

ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย

ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด

ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน ได้แก่ เมืองออกแก้ว อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เมืองนครบุรี อยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา เมืองท่าทั้งสองแห่งนี้เป็นประตูการค้าสำคัญระหว่างจีนและสุวรรณภูมิ ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตตอนกลางของประเทศไทยปัจจุบัน

บริเวณภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน มีเมืองท่าสุวรรณภูมิที่สำคัญ ได้แก่ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว เมืองโบราณเหล่านี้เป็นเมืองใกล้ชายฝั่งทะเล สะดวกในการพักเรือและขนถ่ายสินค้า

เมืองท่าสุวรรณภูมิในเขตภาคกลางนั้น ปรากฏร่องรอยการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 3-5 และต่อเนื่องมาจนถึงพุทธสตวรรษที่ 12-13 ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วสีเดียว

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : สุวรรณภูมิ ดินแดนทองของการค้าลูกปัด

สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกดินแดนแห่งความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี เรือสินค้าจากทั่วทุกสารทิศ ต่างมุ่งหน้าสู่สุวรรณภูมิ

ลูกปัด คือ หนึ่งในของนอกซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงของคนสุวรรณภูมิ ลูกปัดหลากชนิดเดินทางมาสู่สุวรรณภูมิ พร้อมกับงานช่างชั้นสูงที่ปรากฏในสีสัน ลวดลาย และความเชื่อทางศาสนา สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และสืบทอดในกลุ่มชนสุวรรณมาจนถึงปัจจุบัน

ปริศนาแห่งลูกปัด : เส้นสีขีดแบ่งชั้น

ลูกปัดหินเขียนลาย เกิดขึ้นครั้งแรกในอารยธรรมเมโสโปเตเมียและแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 4,500-3,500 ปีมาแล้ว ต่อมานิยมผลิตกันมากที่อินเดียเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว ลวดลายสีขาวบนลูกปัดเกิดจากการเขียนลาย ด้วยสารผสมและการเผาไฟ ทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสีบนผิว เทคนิคพิเศษนี้เป็นความลับของช่างทำลูกปัดที่สืบทอดเฉพาะคนในตระกูล ลูกปัดหินเขียนลายจึงมีค่าสูงกว่าลุกปัดหินทั่วไป และสงวนไว้สำหรับชนชั้นปกครอง

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : โลกของลูกปัด

ความมหัศจรรย์ของลูกปัดทั่วโลกจากหลักฐานที่ค้นพบ แสดงให้เห็นว่า ลูกปัดได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของมนุษย์ที่สั่งสมผ่านกาลเวลา สืบทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชนจนถึงระดับภูมิภาค มีพัฒนาการทั้งด้านวัตถุดิบ เทคนิคการผลิต และรูปลักษณ์อันหลากหลาย

มนุษย์ใช้ลูกปัดด้วยเหตุผลหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นเครื่องประดับ เป็นสิ่งบ้งชี้สถานะทางสังคม เครื่องรางของขลัง สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของใช้ในพิธีกรรม รวมทั้งเป็นสินค้า

ปริศนาแห่งลูกปัด : บรรพบุรุษของลูกปัด

เมื่อประมาณ 45,000 ปี มาแล้ว มนุษย์รู้จักทำลูกปัดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก และเชื่อกันว่า ลูกปัดเม็ดแรก ๆ ได้ถือกำเนิดขึ้นในแอฟริกา

ลูกปัดสมัยเริ่มแรกนั้น ทำจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น เปลือกไข่นกกระจอกเทศ กระดูกสัตว์ ปะการัง เป็นต้น

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

ไม่ระบุชื่อเรื่อง