- TH NDMI DOC-ADM-GAD-05-06-004
- Item
Part of เอกสารภายในหน่วยงาน
ความหมายของบายศรีสู่ขวัญ
บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ
คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย
ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก