Showing 7 results

Archival description
NDMI Archives
Print preview View:

6 results with digital objects Show results with digital objects

ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน

บุคลากรถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน
แถวหน้า (นับจากซ้าย)
แถวที่ 1 :
1) นางสาวรุ่งอรุณ ธนโชคศุภเศรษฐ์ 2) นายศักดิ์สิทธิ์ เกิดโต 3) นางสาวมนัชญา นามละคร 4) นายอิศรา เหมวัน 5) นางสาวมณฑาพร ภูติสุวรรณศรี 6) นางสาวประภัสสร สุคนธสังข์ 7) นางสาวอมรรัตน์ แย้มหรุ่น 8) นายมารุตพงศ์ กาแก้ว 9) นางสาวแก้วใจ อินอ่อน 10) นางสาวทิพาวรรณ วรรณมหินทร์ 11) นายธนพล ประกอบกิจ
แถว 2 :
12) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจัตร 13) นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี 14) นางวัชนี สินธุวงศานนท์ 15) นายราเมศ พรหมเย็น 16) นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ 17) นางสาวปฤษฎาพร โชติธรรม 18) นายกฤชณรัตน์ สิริธนาโชติ
แถว 3 :
19) นางสาวไรวินทร์ สมสอง 20) นางสาวดวงพร แซ่ลิ้ม 21) นางสาวดวิษา ทองเต็ม 22) นางจันทนา ศรีไพรงาม 23) นางพรจัทร์ เดชตระกูล 24) นางสาวศิริพร เฟื่องฟูลอย 25) นายประชา สุขสบาย 26) นายทฤษฎี สุคชเดช 27) นางสาวบุญธิศา วิสาหะชน 28) นางสาวเนตรประภา บุรณศิริ 29) นางสาวชนน์ชนก พลสิงห์ 30) นางสาวนิภาพร เกิดสุข 31) นายธนาวุฒิ ลิ้มสุวรรณเกษม 32) นายชรรร สุขชีพ

ให้โอวาท

ผู้อำนวยการให้โอวาทและให้กำลังใจในการทำงาน
แถวหน้า (นับจากซ้าย)
1) นายราเมศ พรหมเย็น 2) นางสาวปฤษฎาพร โชติธรรม 3) นางสาวรุ่งอรุณ ธนโชคศุภเศรษฐ์ 4) นางวัชนี สินธุวงศานนท์ 5) นางสาวทฤษฎี สุคชเดช 6) นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี 7) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร 8) นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์

รดน้ำดำหัว

ในภาพเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ทางเจ้าหน้าที่สพร. ได้จัดเตรียมถาดรองสำหรับรองขันใบใหญ่เพื่อรองรับน้ำอบที่รดจากมือของผู้อาวุโส โดยมีดอกดาวเรืองล้อมรอบขัน เนื่องจากเรามีความเชื่อว่าดอกดาวเรืองสื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและในชีวิต
โดยวิธีการรดน้ำดำหัวเริ่มจากผู้น้อยถือขันน้ำอบใบเล็กรดไปที่มือพร้อมกับขอพร และผู้อาวุโสจะให้พรกับผู้น้อย ซึ่งคำอวยพรที่ผู้น้อยกล่าวกับผู้อาวุโส เช่น ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ/ครับ ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ขอให้มีอายุยืนยาว และคำให้พรของผู้อาวุโส เช่น ขอให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ขอให้มีความสุขกับการทำงาน ขอให้เฮงๆรวยๆ ขอให้สุขสมหวังทุกประการ เป็นต้น

ผู้ใหญ่ที่เคารพ

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย มิวเซียมสยามได้จัดพิธีรดน้ำดำหัว เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2562 ในวันพุธที่ 17 เมษายน 2562 เวลา 10:00 น. ณ ห้องวีไอพี ชั้นล่าง ปีกซ้าย อาคารมิวเซียมสยาม ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของกรมพระจันบุรีนฤนาท เสนาบดีคนแรกของกระทรวงพาณิชย์ อยู่ภายในห้อง ด้านหน้าคือ นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และนางวัชนี สินธุวงศานนท์ นักจัดการความรู้อาวุโสให้เกียรติเข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัว

น้ำอบในขันใบเล็ก

ขันเงินใบเล็กสำหรับตักน้ำรดผู้อาวุโส โดยจะรดทีละคน และผู้อาวุโสเป็นผู้ให้พรกับผู้รดน้ำ โดยในแต่ละขันต้องมทั้งดอกมะลิและดอกกุหลาบอยู่ในขันด้วยทุกใบ

น้ำอบ

ขันใบใหญ่ที่เต็มไปด้วยดอกมะลิและกลีบกุหลาบ ในขันใบใหญ่นี้มีน้ำอบซึ่งผสมกับน้ำเปล่าเพื่อเตรียมสำหรับพิธีรดน้ำดำหัวเนื่องในวันปีใหม่ไทย ซึ่งนอกจากดอกมะลิและกลีบกุหลาบจะมีความหอมสดชื่นเย็นสบายแล้ว ดอกมะลิยังแสดงถึงความสงบสุข ร่มเย็น แก่ผู้เข้าร่วมพิธี และดอกกุหลาบก็สื่อถึงความรัก ความเมตตาที่ผู้น้อยมีต่อผู้อาวุโสด้วย
“น้ำอบไทย” คือน้ำที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ (ทำจากผิวมะกรูด กำยาน น้ำตาลแดง ขี้ผึ้ง และจันทน์เทศ) และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีลักษณะเป็นน้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ มีการนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานสงกรานต์ งานขึ้นปีใหม่ สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และใช้ในงานศพ เป็นต้น ซึ่งการใช้น้ำอบไทยในงานประเพณีต่างๆ เป็นเครื่องแสดงถึงการสืบทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสังคมไทย
น้ำอบไทยมีหลายกลิ่นที่นิยมกันคือน้ำอบไทยกลิ่นพิกุล กลิ่นชมนาด กลิ่นพุทธชาด หรือจะเป็นกลิ่นพื้นฐานสี่กลิ่นของน้ำอบชาววังแบบทั่วๆไปที่ใช้กลิ่นดอกไม้ 4 ชนิด

  1. ดอกมะลิ ถือเป็นดอกไม้หลักในการอบร่ำปรุงน้ำอบเพื่อให้น้ำอบมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ
  2. ดอกกระดังงาไทย ที่ใช้ความร้อนจากเปลวเทียนให้ขับน้ำมันหอมระเหยออกมามากกว่าปกติ เมื่อนำไปลอยบนผิวน้ำกลิ่นน้ำมันหอมจะละลายไหลออกมากำซาบจับบนผิวน้ำ
  3. ดอกกุหลาบมอญหรือยี่สุ่นเทศ ให้กลิ่นหอมหวานติดปลายนาสิกตามแบบโบราณ
  4. ดอกแก้วหรือไฮซินเป็นตัวผสานกลิ่นน้ำอบทั้งหมดให้หอมยิ่งขึ้น
    4 กลิ่นนี้เป็นต้นกลิ่นของน้ำอบไทยให้กลิ่นเย็นร่ำซาบซ่านหอมอบอวลทวนลมฟุ้งไปไกล น้ำอบไทยมีหลายตำหรับแบ่งแยกการปรุงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของตำหรับที่คิดค้นว่าอยากให้กลิ่นหอมของน้ำอบไทยมีกลิ่นหอมแรงหรือหอมหวาน หลักๆแล้วน้ำอบไทยโบราณจำแนกได้เป็น 2 อย่างคือน้ำอบที่อบด้วยดอกไม้สดใช้ดอกไม้หอมที่กำลังบานแย้มมาอบน้ำที่จะปรุงน้ำอบ กับน้ำอบที่ไม่มีส่วนประกอบของดอกไม้สดเลย ซึ่งแน่นอนว่าน้ำอบตำหรับชาววังแบบโบราณนั้นต้องใช้ดอกไม้สดในการปรุงแต่ง
    อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่คือภาชนะสำหรับใส่น้ำอบ ซึ่งเป็นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในการใช้ขันเงินหรือที่เรียกว่าสลุงเงิน ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ทำจากโลหะเงินและมีการแกะสลักลวดลายบนสลุง ใช้สำหรับใส่น้ำ ซึ่งส่วนมากได้ถูกใช้ในพิธีรดน้ำดำหัวและสรงน้ำพระ

พิธีรดน้ำดำหัว

ประเพณีรดนํ้าดําหัว เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่แสดงถึงความเคารพนอบน้อมต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือและผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสําคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน
“การดําหัว” ก็คือการรดนํ้านั่นเองแต่เป็นคําเมืองทางเหนือการดําหัวเรียกกันเฉพาะการรดนํ้าผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปหรือขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนําไปในการรดนํ้าดําหัวก็คือ นํ้าใส่ขันเงินใบใหญ่ ในนํ้าใส่ฝักส้มป่อยโปรยเกสรดอกไม้และเจือนํ้าหอม นํ้าปรุงเล็กน้อยพร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดนํ้าดําหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดําหัวไปด้วย ท่านผู้ใหญ่ก็จะสรรหาคําพูดที่ดีที่เป็นมงคลและอวยพรให้กับผู้ที่มารดนํ้าดําหัว

NDMI Archives