ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
- TH NDMI EXH-TMP-02-03-011
- Item
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
2724 results with digital objects Show results with digital objects
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ภาพถ่ายนิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า บอกเล่าความเป็นมาของผ้า 1 ผืน ที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ระหว่างทางการสร้างผ้า ได้เกิดความรู้ สร้างความเข้าใจในการผลิตผ้าหนึ่งผืน ความรู้เรื่องผ้าจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะช่วยขับเคลื่อนความคิด ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญว่าการศึกษาเรื่องราวของผ้า เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาของไทย และเป็นพื้นฐานการนำความรู้ในไปต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์งานผ้าต่อไปในอนาคต
นิทรรศการชั่วคราว “กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า” มีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตร นิทรรศการชั่วคราว " กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า "
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้
นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย
ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด
ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก
ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว
บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้
ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร
ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตคาบสมุทรมลายูปัจจุบัน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ภูเขาทอง จังหวัดระนอง ท่าชนะ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา คลองท่อม จังหวัดกระบี่ รวมทั้งกัวลาเซลินซิง ประเทศมาเลเซีย
เมืองท่าสองฝั่งคาบสมุทรนี้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลซึ่งมีที่กำบังลมมรสุมเพื่อจอดพักเรือ และอยู่บริเวณปากแม่น้ำทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าถึงกันได้โดยใช้เส้นทางน้ำ เช่น แม่น้ำตะกั่วป่า และลำน้ำสาขา
ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ในเมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ ลูกปัดคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วหลากหลายรูปทรงและสีสัน รวมทั้งพบหลักฐานการผลิตลูกปัดจำนวนมากในบริเวณนี้ด้วย