Showing 3812 results

Archival description
Print preview View:

2724 results with digital objects Show results with digital objects

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : เครื่องสีฝัด และเครื่องสีมือ

เครื่องสีฝัด

ช่วยแยกแกลบและเศษผงออกจากข้าวเปลือก เมื่อเราหมุนเครื่องสีฝัด เราจะหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเฟืองตัวเล็กที่ใช้ขับเคลื่อนใบพัดทำให้เกิดลมที่จะพัดเอาวัตถุมวลเบา เช่น เศษฝาง แกลบ แล้วข้าวลีบแยกออกไปจากข้าวเปลือกที่จะร่วงลงสู่ท้องเครื่อง เครื่องสีฝันช่วยให้ชาวนาฝัดข้าวได้ทีละมากๆ แทนการใช้กระด้งกับพัด

เครื่องสีมือ

ใช้สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร มีลักษณะเป็นภาชนะสานคล้ายกระบุงสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่ต้องการสีที่ด้านบน ก้นกระบุงจะโหว่เพื่อสวมครอบลงบนแป้นหมุนไม้สองชิ้นที่วางซ้อนกัน ด้านบนของแป้นหมุนชิ้นบนใส่ดินเหนียวเพื่อเพิ่มแรงกดบนแป้นชิ้นล่าง ด้านข้างเสียบเดือยไม้เชื่อมต่อกับไม้คานด้วยข้อต่ออิสระ มีมือจับที่ปลายคานซึ่งแขวนจากเพดานเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักคานไว้ เมื่อเราออกแรงผลักมือจับไปข้างหน้า คานจะช่วยหมุนแป้นหมุน ก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างแป้นไม้ทั้งสองที่บากร่องไว้ที่พื้นผิวด้านใน ช่วยขยี้ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าวแล้วร่วงตกลงบนกระบะที่รองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อเราหมุนไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ทำให้เกิดแรงหมุนกลับมาได้เองทำให้เราไม่ต้องออกแรงดันมาก กลไกแบบนี้เรียกว่า “ข้อเหวี่ยง”

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย

ล้อเกวียน

ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก

ระหัดชกมวย

ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

โชงโลง

เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ

คันไถ

ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน

“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ

ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง

ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา

23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม

1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา

5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ

12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้

28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว

2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว

11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง

17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว

นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554

เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

ใบความรู้ นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

ใบความรู้ประกอบนิทรรศการชั่วคราว "Know-How ชาวนา"

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกการศึกษาและสื่อการเรียนรู้

สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สูจิบัตรนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ของที่ระลึก กล้องส่องพระ นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)

ของที่ระลึกนิทรรศการ เครื่องรางของขลัง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

เครื่องรางของขลัง : ควายธนู

ควายธนู

วัวธนูหรือควายธนูนั้นเป็นเครื่องรางของขลังจำพวกอาถรรพ์พระเวทไม่ใช่เครื่องรางของขลังสามัญทั่วไป ผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้มีวิชาอยู่พอสมควรสามารถเรียก ปลุก ใช้ และเรียกกลับมาได้

วัวธนูหรือควายธนูเป็นวิชาของคนไทยแต่โบราณใช้เขาวัวที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแกะเป็นรูปวัวแล้วเจาะรูสำหรับบรรจุของอาถรรพ์ (ผมผีตายโหง 2 ศพ ปิดด้วยชันนางโลมใต้ดิน) แล้วลงอักขระธาตุพระกรณี (จะภะกะสะ) ที่ตัววัวหรือสร้างขึ้นมาจากสิ่งมีอาถรรพ์ (ตะปูจากโลงศพ เหล็กขนัน ผีตายท้องกลม งั่ง ทองแดงเถื่อน ดีบุก เงินปากผี ทองยอดนพศูนย์) นำมาหล่อเป็นรูปโคหรือรูปกระทิงโทนแล้วลงอักขระยันต์

การทำวัวธนู นั้นจะมีเวทมนตร์คาถากำกับแตกต่างกัน โดยในการสร้างนั้นจะมีคาถาเชิญเทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสิงสถิต เวลาจะใช้วัวให้ออกไปต่อสู้กับศัตรูหรือภูตผีปีศาจก็ใช้คาถาปลุกแล้วสั่งให้ไป

เครื่องรางของขลัง : ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิ

ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ในสมัยหนึ่งผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ พระนามว่า “ท้าวทศราช” ปกครองนคร “กรุงพาลี” ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม พระนารายณ์จึงอวตารลงมาปราบและขับไล่พระเจ้ากรุงพาลีพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ ราษฎรจึงอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายท้าวทศราชต้องพบกับความยากลำบากจึงสำนึกผิด และเข้าเฝ้าพระนารายณ์ เพื่อขออภัยโทษ และปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษและอนุญาตให้ท้าวทศราชและครอบครัวกลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด

เครื่องรางของขลัง : เขี้ยวเสือ

เขี้ยวเสือ

ตำราแกะเขี้ยวเสือนั้น มี 2 แบบ คือ แกะเป็นรูปเสือ และแกะเป็นรูปภควัมบดี โดยใช้เขี้ยวของเสือ ที่เคยกินคนแล้วหรือเขี้ยวเสือโปร่งฟ้า คือเขี้ยวเสือกลวง เป็นโพลงตั้งแต่โคนเขี้ยว เนื้อเขี้ยวมีความบางกว่าเขี้ยวเสือทั่วไป คนโบราณคือว่า เขี้ยวเสือสามารถฝนเป็นยาได้ และพกติดตัวเป็นมหาอำนาจ กันคุณไสย ผีโป่งผีป่า

อันว่าเขี้ยวเสือที่ดีต้องกลวงดังคำพังเพยว่า กะลาตาเดียว งาช้างหัก เขี้ยวหมูตัน ฟันเสือกลวง ถือเป็นของทนสิทธิ์มีฤทธิ์ในตัว ถึงแม้ไม่ต้องปลุกเสกก็มีคุณวิเศษในตัวเอง เมื่อนำมาแกะเป็นรูปเสือ จะลงด้วยหัวใจพระไตรสรณาคมน์ตามจุดต่างๆ ตัว พุ ลงตาซ้าย ตัว ธะ ลงตาขวา ตัว สัง ลงหน้า ตัว มิ ลงหลัง เขี้ยวเสือแกะนี้มีการสร้างกันมาช้านานหลากหลายอาจารย์ แต่เสือที่โด่งดังที่สุดก็ต้องเสือของ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” หรือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน

เครื่องรางของขลัง : เสื้อ/ผ้ายันต์

เสื้อ/ผ้ายันต์

ผ้ายันต์หรือประเจียด คือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้า ใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขนหากลงที่เสื้อจะเรียกว่า เสื้อยันต์ การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพัน ต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตา ต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ 5 ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ

อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจ กันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย

เครื่องรางของขลัง : นางกวัก

นางกวัก

อิทธิคุณของนางกวัก ถ้าจะให้ขายของได้ดีให้ละลายแป้งหอมลงในน้ำมันหอม แล้วเอานางกวักแช่ลงไปเสกด้วยมนต์นี้ "โอมเทิบ เทิบ มหาเทิบ เทิบ สัพพะเทิบ เทิบ สวาหะ" ตามกำลังวัน แล้วนำแป้งและน้ำมันหอมประพรมสิ่งของที่จะนำไปขาย และจุณเจิมที่หน้าร้านค้าจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

เคล็ดในการบูชานางกวักและกุมารทอง ให้อาราธนา หรืออธิษฐานทุกครั้ง ก่อนทำการค้าขาย และตั้งบูชาในที่อันควร โดยจุดธูปบูชา 5 ดอก พร้อมถวายน้ำเปล่า นอกจากนี้ ยังนิยมถวายน้ำแดง น้ำเขียว ไปจนถึงยาคูลท์ ส่วนพวงมาลัยสดนั้น ให้ขึ้นหิ้งทุกวันพระ แต่ห้ามถวายเหล้า หรือสิ่งเสพย์ติดเป็นอันขาด

คติการถวายของเล่นและน้ำหวานแก่กุมารทองนั้น คงมาจากความเชื่อที่ว่า กุมารทองยังเป็นเด็ก ชอบเล่นของเล่นและชอบดื่มน้ำหวานนั่นเอง

Results 1301 to 1320 of 3812