- TH NDMI EXH-TMP-07-02
- File
- 2011-07
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
2724 results with digital objects Show results with digital objects
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง เห่อของนอก
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เอกสารโครงการ เรื่อง เห่อของนอก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมบริโภคนิยม โดยมุ่งเน้นกระแสนิยม ของนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลในขณะนั้น เช่น ชาวสุวรรณภูมิยุคก่อร้างสร้างเมืองเกิดกระแส “เห่อของแขก” ชาวสุโขทัย “เห่อของจีน” ในขณะที่กระแส “เห่อเขมร” เกิดขึ้นในหมู่ชาวอยุธยา รวมไปถึงกระแส “เห่อพม่า” “เห่อเปอร์เซีย” หรือ “เห่อชวา” จนมาถึงยุค “เห่อฝรั่ง” ในช่วงที่บ้านเมืองต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔, ๕ และ ๖ พร้อมการคุกคามจากชาติตะวันตก
หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
เกม นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
1 ชุดมี 5 ใบ
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกกิจกรรมการเรียนรู้
สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตรนิทรรศการปรากฏการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ปรากฎการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เข็มกลัดที่ระลึก นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ของที่ระลึกนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเจ้า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ข้าวเจ้า มีลักษณะเมล็ดยาวรี ต้นสูง เป็นข้าวที่ปลูกในเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา ข้าวพันธุ์นี้ค้นพบครั้งแรกในอินเดียและต่อมาได้พัฒนาไปปลูกที่ทวีปอเมริกา
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ดอกข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกสองแผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกแผ่นใหญ่เรียกว่า lemma ส่วนเปลือกนอกแผ่นเล็กเรียกว่า palea ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกนี้ไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิวเรียบด้วย ที่ปลายสุดของ lemma จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมา เรียกว่า หาง (awn) พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บเกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้ อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย
ที่ปลายด้านล่างของ lemma และ palea เท่านั้นที่ประสานติดกันอยู่บนก้านสั้น ๆ ที่เรียกว่า rachilla และที่ด้านบนของ rachilla นี้จะมีแผ่นบาง ๆ สองแผ่นขนาดเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่บังคับให้ lemma และ palea ดังกล่าวปิดหรือเปิดได้ แผ่นบาง ๆ สองแผ่นนี้เรียกว่า lodicules
ที่ฐานของ rachilla จะมีเปลือกบาง ๆ อีกสองแผ่นขนาดเล็กกว่า lemma และ palea และมีรูปร่างค่อนข้างยาวประกบอยู่ที่ฐานของ lemma และ palea เรียกว่า sterile lemmas ซึ่งที่ปลายด้านล่างของ sterile lemmas ก็ประสานติดกันอยู่รอบ ๆ ข้อซึ่งเรียกว่า rudimentary glumes
ต่อลงมาก็จะเป็นก้านดอก (pedicel) ซึ่งติดอยู่บนระแง้ทุติยภูมิของช่อดอกข้าวดังกล่าว ส่วนที่อยู่ภายในซึ่ง lemma และ palea ห่อหุ้มไว้นั้น ได้แก่ เกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) เกสรตัวผู้ประกอบด้วยกระเปาะสีเหลือง (anther) ซึ่งภายในมีละอองเกสร (pollen grains) ขนาดเล็กจำนวนมาก กระเปาะนี้ติดอยู่บนก้านยาวเรียกว่า filament และเชื่อมติดอยู่กับฐานของดอก
ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวนสองอัน แต่ละอันมีก้าน (style) เชื่อมติดอยู่กับรังไข่ (ovary) ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลายเป็น เมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น การผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง (self-pollination) และมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) เป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ 0.5-5 % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า และก่อนที่ lemma และ palea จะบานออกเล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่ โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวเหนียว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ข้าวเหนียว (Glutinous Rice) เป็นข้าวชนิดหนึ่ง เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่าย ๆ เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อย ๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบ ๆ ปกคลุม ต้นมีสีเหลืองนวล สีเขียว ผลเป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดแก่มีสีเหลืองทอง สีม่วงแดง ตามสายพันธุ์ ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีขาวขุ่น สีดำ ตามสายพันธุ์
ข้าวเหนียวหุงสุกแล้ว เมล็ดจะเหนียวติดกันเหมือนกาว มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย มีปลูกกันในเขตร้อนหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ข้าวป่า
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ข้าวป่า เป็นข้าวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะพบเห็นในลำคลองข้าง ๆ ทาง ในแอ่งน้ำริมแปลงข้าวปลูกหรือในแปลงข้าวปลูก ชื่อข้าวป่าอาจถูกเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า หญ้าข้าวนก ภาคกลางเรียกข้าวละมาร หรือ หญ้าละมาน เป็นต้น
จากข้าวป่าที่สำรวจพบทั่วโลก 21 ชนิด พบว่า มีในประเทศไทย อย่างน้อย 5 ชนิด ข้าวป่าบางชนิดเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกและมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ปัจจุบัน มีการนำข้าวป่ามาทำประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ สาเหตุจากมนุษย์ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยเกินไป ข้าวป่าเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ การขยายเมือง สร้างถนน สร้างเขื่อน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มผลผลิตพืช
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
รู้ไหมว่า คนรุ่นก่อนคิดค้นพันธุ์ไว้ให้เรากว่า 60,000 ชนิด ชาวนาใช้พันธุ์ข้าวมหาศาลนี้อย่างชาญฉลาด ชาวนาหนึ่งคนอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์ในคราวเดียวกัน เพราะนาหนึ่งผืน มีพื้นที่หลายลักษณะ แถมข้าวจะออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ทยอยเกี่ยวทีละแปลงได้ทันก่อนข้าวจะล้ม นอกจากนี้ชาวนาจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ปลูกบ้างเพื่อลดการสะสมของโรคระบาด ผลพลอยได้ท้ายที่สุดจะอยู่ที่คนกินข้าว เพราะข้าวต่างพันธุ์ก็ให้สารอาหารต่างกัน ยิ่งกินข้าวหลากหลาย ก็ยิงแข็งแรง
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักพันธุกรรมศาสตร์ ผู้ปลุกปั้นดีเอ็นเอข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
คัด + ผสม = ข้าว x 1000d จะปลูกข้าวทั้งที เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ต้องเจ๋งจริงๆ ชาวนาให้ความสำคัญในการเลือกเฟ้นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับผืนนาของตน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง ปลูกง่าย รวมถึงยังต้องเก็บสต็อกข้าวไว้หลายๆพันธุ์ เผื่อเอาไว้ปลูกในกรณีฉุกเฉินที่สภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชาวโลก
นอกจากนี้ ชาวนายังเป็น “นักพันธุ์กรรมศาสตร์” อีกด้วย เพราะข้าวที่ปลูกจะค่อยๆกลายพันธุ์ไป จึงต้องทำการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเลือกเอาข้อเด่นของข้าวแต่ละพันธุ์มาผสมกันและปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นคัดเฉพาะต้นที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ มาปลูกซ้ำอีกแปดรอบ เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์แท้ ก่อนนำไปปลูกจริง
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต
น้ำเป็นผู้ช่วยแสนวิเศษในการทำนาแต่ละขั้นตอน ในช่วงไถต้องเอาน้ำเข้าเพื่อเร่งการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์และช่วยให้ดินนิ่ม จากนั้นต้องไขน้ำออกไปไว้แปลงข้างๆ เพื่อหว่านกล้าไม่อย่างนั้นข้าวจะลอย เมื่อกล้าหยั่งรากแล้วจึงวิดน้ำเข้าอีกทีเพื่อเร่งให้ข้าวโต เพราะข้าวจะยืดตัวหนีน้ำ แถมน้ำยังช่วยท่วมหญ้าอีกด้วย หลังจากดำนาก็ต้องคอยไขน้ำออกหากมีโรคจากความชื้นและเพลี้ย เมื่อโตเต็มที่ก่อนตั้งท้องแล้วก็ไขน้ำออกจะช่วยให้ข้าวอ้วนให้รวงสวย
ฟื้นดินด้วยพืช
ชาวปกาเกอะญอที่ทำนาบนภูเขาลาดชั้นที่ธาตุอาหารในดินพร้อมจะถูกชะหายไปพร้อมกับฝนหลากหนัก นอกจากการทำนาขั้นบันไดเพื่อกักเก็บน้ำและธาตุอาหารแล้ว ชาวปกาเกอะญอยังมีวิธีฟื้นดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยการทำ “ไร่หมุนเวียน” แต่ละครอบครัวจะมีที่ทำนาเจ็ดแห่ง เสร็จจากไร่ปีนี้ก็จะทิ้งให้ต้นไม้ที่ฟันไว้แค่ระดับเอวแตกยอดขึ้นมาใหม่แข่งกับพืชคลุมดินและไม้พุ่มนานาชนิดที่จะงอกงามเติบโต ช่วยฟื้นดินให้อุดมสมบูรณ์อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมสำหรับการกลับมาทำนาที่ไร่แห่งนี้ในอีกแปดปีข้างหน้า
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง
ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา
ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา
ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด และยาฆ่าหนอน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด สูตรสมุนไพร
นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับหยาบๆ แล้วแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดแรกหมักกับเหล้าขาวและน้ำส้มสายชู ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจนน้ำเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง นำน้ำสมุนไพรที่ได้ไปเจือจางกับน้ำสะอาดอีก 5 ลิตร แล้วใช้ต้มกับสมุนไพรชุดที่สอง แล้วต้มสมุนไพรชุดที่สาม ด้วยขั้นตอนเดียวกัน รวม 3 ขั้นตอน ก็จะได้ยาไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูง
เวลาใช้ให้นำยา 50 ซีซี ไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวในระยะกล้าอายุ 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุก 10 วัน ไปจนกระทั่งข้าวออกรวงเข้าระยะน้ำนมจึงหยุดฉีด
ยาฆ่าหนอน สูตรเชื้อราทำมือ
ลุงชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนา ค้นพบว่าหนอนที่มากัดกินต้นข้าวนั้นตายเพราะเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อเอาลักษณะมาเทียบกับในหนังสือแล้วพบว่าตรงกับลักษณะของเชื้อโนมูเรีย จึงนำเอาหนอนที่ตายมาเพาะเชื้อราต่อด้วยการใส่นม กากน้ำตาล และตีออกซิเจนใส่ เวลาใช้กรองเอาแต่น้ำมา 100 ซีซี ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนแดดไม่จัดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราตาย
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงยา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูตรปรุงยา
ยาที่ข้าวต้องการมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “ยาบำรุง” และ “ยาป้องกันโรคและแมลง” โดยแทบจะไม่ต้องการยารักษาโรคเลยเพราะเมื่อเราบำรุงข้าวให้แข็งแรงตั้งแต่แรก ข้าวก็จะไม่เป็นโรคมาก ยาบำรุงนั้นจะทำจากของน่ากินทั้งนั้น อย่างไข่ไก่ นม กากน้ำตาล หรือแม้แต่นมเปรี้ยว ส่วนยาป้องกันโรคและแมลงก็จะเป็นของที่ไม่ค่อยอร่อยแต่มีประโยชน์อย่างพืชผักสมุนไพร หรือของที่มีพิษไปเลย เช่น เชื้อราต่างๆ ที่ช่วยฆ่าหนอนและแมลงได้ดี
ฮอร์โมนสูตรนมสด
หมักประมาณสามวันจนมีกลิ่นหอม แล้วกรองเอาแต่น้ำ 70 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ใช้ฉีดบำรุงข้าวเมื่อเริ่มแตกกอ
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ
สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่
สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย
น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม