- TH NDMI EXH-TMP-19-03
- File
- 2018-05
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
2724 results with digital objects Show results with digital objects
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ไทยทำ...ทำทำไม (พ.ศ. 2560)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ความรู้ในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จนเกิดเป็น “ภูมิปัญญา” แบบไทยๆ ขึ้นมา ถึงแม้ว่าของเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ซับซ้อนหรือแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมายก็ตาม แต่ของ “ไทยทำ” กลับแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราอยู่อาศัยกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข และเก่งนักในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ถุงผ้าที่ระลึกงานนิทรรศการ "ต้มยำกุ้ง: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นถุงผ้าลักษณะเป็นย่ามที่เปิดปิดด้วยเชือก ขนาด 47*41 ซม. ตัวกระเป๋าเป็นสีเขียวอ่อน ตัวเชือกเป็นสีเหลือง ด้านหน้าสกรีนคำว่า "ถุงยังชีพ"
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีของวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2540 ซึ่งประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าร้ายแรงที่สุดในภาคการเงินเลยก็ว่าได้ ทั้งยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังแทบทุกภาคส่วนของสังคม ปรากฏการณ์ "ต้มยำกุ้ง" จึงมีความสำคัญในแง่ของการเผยให้เห็นรากฐานและลักษณะพิเศษของสังคมไทย ที่ได้รับการหยิบและฉวย ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาในยามยาก จากความสำคัญของปรากฎการณ์ดังกล่าว ทางสถาบันฯจึงได้จัดทำนิทรรศการชุดนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยิบยกเหตุการณ์ดังกล่าว มาเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการทำความเข้าใจสังคมไทยในแง่มุมต่างๆ โดยนิทรรศการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 2 กรกฏาคม พ.ศ.2560 ณ มิวเซียมสยาม
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน (พ.ศ. 2560)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตรนิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด (พ.ศ. 2559)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชิด
ตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคม การกระจายความเจริญ และที่สำคัญคือ สังคมจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เพื่อการทำความเข้าใจอาเซียนในมิติของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ควรจัดสร้างสรรค์นิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถนำเสนอมุมมองของการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง โดยพิจารณาว่า พม่า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ปรับด้วยมายาคติทางประวัติศาสตร์มาเป็นโมเดลการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับพม่า ประกอบกับปัจจุบันมีประชากรจากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว “พม่า” ที่หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเด่นชัด ทำให้ชาวพม่ามีส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงานเหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงานขึ้นทะเบียนเหล่านี้แล้ว ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวทำงานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย ตลอดจนคุณูปการของชาวพม่าต่อสังคมไทยอย่างข้ามกรอบอคติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความเคารพซึ่งกัน นอกจากนี้การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ยังจะเป็นภาพสะท้อนช่วยให้เข้าใจ “คนไทย” มากยิ่งขึ้นด้วย
นิทรรศการ “พม่าระยะประชิด” นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จากการลงภาคสนาม พร้อมนำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าชมมีความเข้าใจนิทรรศการมากขึ้น กิจกรรมเสวนาประวัติศาสตร์พม่าที่หายไป, กิจกรรมละครเวทีโดยนักแสดงที่เป็นเด็กชาวพม่า, การแสดงหุ่นกระบอกพม่า สถาบันฯ ในฐานะที่เป็นองค์การที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่านิทรรศการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพม่าซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว นิทรรศการนี้ยังสามารถให้แนวความคิดเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนของสังคมและการเปิดใจกว้างในการทำความรู้จักผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชัด เพื่อให้ผู้ชมตระหนักและเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาค ซึ่งกำลังจะเกิดปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในอนาคตอันใกล้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สถานที่จัดนิทรรศการ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เนื้อที่โดยรวม 246 ตร.ม.
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ มีนาคม – มิถุนายน 2559 (4 เดือน)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ