Showing 3812 results

Archival description
Print preview View:

2724 results with digital objects Show results with digital objects

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile)

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ชุดแรก ที่จัดสร้างขึ้นในปี 2551 พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มอบหมายให้ฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีนายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ

โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่ ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 ติดตั้งและจัดแสดงที่จังหวัดลำปางเป็นแห่งแรก

แบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ (AS-Built Drawing) โครงการออกแบบ เขียนแบบ จัดหา จัดทำและประกอบติดตั้งนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง Fast Fashion

แบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ โครงการออกแบบ เขียนแบบ จัดหา จัดทำและประกอบติดตั้งนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง Fast Fashion ออกแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD โดยบริษัท CMO Public Company Limited.

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นิทรรศการ ชุด Fast Fashion ช็อปล้างโลก

นิทรรศการหมุนเวียน ชุด Fast Fashion ช็อปล้างโลก จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นิทรรศการนำเสนอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมหาศาลตามค่านิยมทางสังคมซึ่งทำให้เกิดมลภาวะต่อโลก โดยอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 8 เป็นที่มาของน้ำเสียทั่วโลกถึงร้อยละ 20 เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลในการผลิต การผลิตกางเกงยีนส์เพียงหนึ่งตัวต้องใช้น้ำปลูกต้นฝ้ายมากถึง 7500 ลิตร หรือเทียบเท่ากับน้ำขวดใหญ่จำนวนประมาณ 5000 ขวด

นิทรรศการ Fast Fashion ไม่บอกเพียงผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่นำเสนอทางออกร่วมกันที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การ Reduce, Reuse และ Recycle

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์

ห้องที่ 2 : กระทรวงพาณิชย์

ขุนวิจิตรมาตรา (นายสง่า กาญจนาคพันธุ์) ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ รับราชการจนเกษียณอายุในตำแหน่งหัวหน้ากองมาตราชั่งตวงวัดเมื่อปี พ.ศ. 2500
เป็นข้าราชการรุ่นแรกของกระทรวงพาณิชย์ ที่เข้ารับราชการโดยการสอบคัดเลือก

นางสาวบุญพงศ์ ฉายากุล ข้าราชการหญิงคนแรกของกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ สอบเข้าเป็นเสมียนชั้นจัตวา เมื่ออายุ 18 ปี ทำงานอยู่ในแผนกสารบรรณ

สถาปนิกผู้ออกแบบตึกกระทรวงพาณิชย์

ห้องที่ 1 : ตามาลโญ

นายมาริโอ ตามัญญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนเข้ารับราชการทำงานกับรัฐบาลสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2443 -พ.ศ.2468

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

Results 1041 to 1060 of 3812