- TH NDMI EXH-TMP-17-02
- File
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
2724 results with digital objects Show results with digital objects
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ ชุด ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน (พ.ศ. 2560)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีของวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2540 ซึ่งประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าร้ายแรงที่สุดในภาคการเงินเลยก็ว่าได้ ทั้งยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังแทบทุกภาคส่วนของสังคม ปรากฏการณ์ "ต้มยำกุ้ง" จึงมีความสำคัญในแง่ของการเผยให้เห็นรากฐานและลักษณะพิเศษของสังคมไทย ที่ได้รับการหยิบและฉวย ขึ้นมาใช้แก้ปัญหาในยามยาก จากความสำคัญของปรากฎการณ์ดังกล่าว ทางสถาบันฯจึงได้จัดทำนิทรรศการชุดนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยิบยกเหตุการณ์ดังกล่าว มาเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการทำความเข้าใจสังคมไทยในแง่มุมต่างๆ โดยนิทรรศการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 2 กรกฏาคม พ.ศ.2560 ณ มิวเซียมสยาม
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ถุงผ้าที่ระลึกงานนิทรรศการ "ต้มยำกุ้ง: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นถุงผ้าลักษณะเป็นย่ามที่เปิดปิดด้วยเชือก ขนาด 47*41 ซม. ตัวกระเป๋าเป็นสีเขียวอ่อน ตัวเชือกเป็นสีเหลือง ด้านหน้าสกรีนคำว่า "ถุงยังชีพ"
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เข็มกลัดที่ระลึกของนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา: วิชานี้อย่าเลียน!" เป็นเข็มกลัดทรงกลม สีขาว ขอบและรูปภาพภายในสีน้ำเงิน ตัวหนังสือและสัญลักษณ์สีทองหม่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม.
นิทรรศการ ชุด ไทยทำ...ทำทำไม (พ.ศ. 2560)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ความรู้ในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ จนเกิดเป็น “ภูมิปัญญา” แบบไทยๆ ขึ้นมา ถึงแม้ว่าของเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ซับซ้อนหรือแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมายก็ตาม แต่ของ “ไทยทำ” กลับแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราอยู่อาศัยกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข และเก่งนักในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ไทยทำ...ทำทำไม : เสียงของไม่จำเป็น
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สังคมที่เราอาศัยอยู่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยสิ่งต่างๆมากมาย ชิ้นเล็กบ้าง ชิ้นใหญ่บ้าง จำเป็นบ้าง เกินจำเป็นบ้าง และบางอย่างก็ถูกมองว่า “ไม่จำเป็น” อีกต่อไป ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครรู้จัก ถูกมองข้าม ถูกลืม ไม่มี “เสียง” ให้ได้ยินอีกต่อไป
ตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน เราปล่อยให้เสียงเหล่านั้นที่เคยกังวานในยุคสมัยของมัน ให้เงียบงันและหายไปกับกาลเวลา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
โปง
ระฆังไม้ใบยักษ์นี้เป็นเหมือนหัวใจของชุมชน ทั้งตีบอกสัญญาณทำกิจของสงฆ์ แจ้งเวลาให้ชาวบ้าน ไปจนถึงตีรวมพล และบอกเหตุการณ์ผิดปรกติต่างๆ ด้วย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เกราะลอ
เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ระหัดวิดน้ำ
การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ครกกระเดื่อง
ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เครื่องสีฝัด
ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ