ของที่ระลึก กล้องส่องพระ นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)
- TH NDMI EXH-TMP-05-04-001
- Item
- 2012-07-06
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ของที่ระลึกนิทรรศการ เครื่องรางของขลัง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
2724 results with digital objects Show results with digital objects
ของที่ระลึก กล้องส่องพระ นิทรรศการ ชุด เครื่องรางของขลัง (พ.ศ. 2553)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ของที่ระลึกนิทรรศการ เครื่องรางของขลัง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตร นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูจิบัตรนิทรรศการ Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้ นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ใบความรู้ประกอบนิทรรศการชั่วคราว "Know-How ชาวนา"
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกการศึกษาและสื่อการเรียนรู้
เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
นิทรรศการ เรื่อง ข้าว จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปีพุทธศักราช 2554
เอกสารโครงการ เรื่อง ข้าว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีตที่ช่างคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ดึงชักผลักโยก ชนิดต่างๆ มาใช้ในทุกกระบวนการจองการปลูกข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการทดน้ำเข้านา การไถเพื่อเตรียมดิน การเพาะหว่านเมล็ดข้าว การปักดำต้นกล้า การดูแลรักษาไม่ให้มีแมลงและวัชพืช จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และฝัดสีข้าวมาบริโภค
หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ปฏิทินชาวนา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
23 เมษายน
บวงสรวงเจ้าที่ไหว้แม่พระธรณี ปรับพื้นที่ทำแปลงนา ฝนเริ่มตกชาวนาเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ไถ คราด จอบ เสียม
1 พฤษภาคม
เริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่างๆ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น
12 พฤษภาคม
ดำนา หลังจากเตรียมดิน และเตรียมต้นกล้าประมาณ 18-20 วัน แล้วชวนกันลงแขกดำนา
5-30 กรกฎาคม
เลี้ยงดูต้นข้าว ช่วงนี้ชาวนาผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร คอยไขน้ำเข้าไขน้ำออกหลอกให้ข้าวโต บำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โรคและแมลงต่างๆ
12 สิงหาคม
ข้าวเริ่มตั้งท้อง มีการทำบุญสารทไทย ทำพิธีกรรมรับขวัญข้าว ไหว้พระแม่โพสพ ด้วยการถวายของและดอกไม้
28 สิงหาคม
เกี่ยวข้าว ข้าวเริ่มสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว
2-3 กันยายน
ยาลานข้าวด้วยซีเมนต์พื้นบ้าน ย่ำขี้ควายทำซีเมนต์พื้นบ้าน ลงมือทำลานข้าว และเตรียมพิธีกรรมทำขวัญข้าวในลานนวดข้าว
11 กันยายน
นวดข้าว เอาเปลือกใส่ยุ้ง มีการทำขวัญข้าวเข้ายุ้ง พิธีเปิดยุ้ง ปิดยุ้ง
17 กันยายน
ตำข้าว สีข้าว สำหรับแปรรูปเปลี่ยนร่างเมล็ดข้าวเป็นอาหารต่างๆ
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักฟิสิกส์ ประดิษฐ์ คิดเอง จนถูกใจ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ชาวนามีเครื่องมือ เทคนิค และเคล็ดลับมากมายเพื่อให้ใช้แรงงานและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ต่าง
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : คันไถ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
คันไถ
ใช้เตรียมดินก่อนเริ่มทำนา คันไถทำจากไม้จริง มีขนาดและความคดโค้งต่างกันไปตามความถนัดของคนใช้ ตรงกลาของคันไถจะเชื่อมติดกับ “ฮากไถ” หรือก้านไม้ที่ใช้ต่อกับเชือกแอกควาย เพื่อให้ควายช่วยลากคันไถไปข้างหน้า ในขณะที่คนจะจับปลายไถด้านบน กดตัวคันไถที่เป็นคานลงให้ “หัวหมู” ที่ติดอยู่ที่ปลายด้านล่างแซะดินขึ้นมา ช่วยเปิดหน้าดิน พรวนดิน
“หัวหมู” จะมีปลายแหลม ลำตัวโค้งไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้เวลาแซะดินขึ้นแล้วดินจะพลิกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากลำตัวของหัวหมูแบนราบไปกับพื้นดิน จะไปกดดินให้แน่นทำให้ข้าวแทงรากได้ยาก
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ครกกระเดื่อง และโชงโลง
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ครกกระเดื่อง
ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก
โชงโลง
เป็นเครื่องทุ่นแรงในการวิดน้ำเข้านาระหว่างพื้นที่ระดับใกล้ๆกัน เวลาใช้จะดึงด้ามเข้าหาตัวก่อน โดยใช้มือหนึ่งเป็นตัวค้ำ (จุดหมุน) ทำให้ด้ามเป็นคานกดกระบวยให้วิดน้ำ ก่อนดันด้ามไปให้สุดเชือกเพื่อเสือกน้ำเข้านา เหมือนการใช้พลั่วตักดิน หากแต่โชงโลงมีเชือกช่วยรับน้ำหนักไว้เหมือนลูกตุ้มที่ตัวลูกตุ้มเป็นคานนั่นเอง
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ล้อเกวียน และระหัดชกมวย
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ล้อเกวียน
ใช้ในการขนย้ายข้าวทีละมากๆ เราจำเป็นต้องใช้เกวียน และส่วนสำคัญของเกวียนก็คือล้อ ลองคิดดูสิถ้าหากโลกเราไม่มีล้อ เราคงมีชีวิตที่ลำบากกว่านี้เยอะ เพราะล้อหรือการหมุนถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนพาหนะ ไปเป็นกลไกในเครื่องจักร เช่น เฟืองและรอก เป็นแป้นหมุนปั้นภาชนะ ฯลฯ การค้นพบล้อถือเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของมนุษยชาติเลยทีเดียว และเกิดขึ้นในทุกอารยธรรมทั่วโลก
ระหัดชกมวย
ใช้วิดน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เราต้องใช้ระหัดที่มีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำ มีเฟืองหมุนอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของระหัด เฟืองที่อยู่ด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเฟือง และมีด้านมือชกต่อออกมาเพื่อใช้มือจับหมุน เมื่อหมุนเฟืองก็จะไปหมุนโซ่ที่ติดกับใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองใบพัดจะช่วยวิดน้ำเข้ามา ในกรณีที่ระหัดชันหรือยาวมากทำให้ต้องใช้แรงหมุนมาก ชาวนาจะเปลี่ยนจากมือหมุนเป็นเครื่องถีบ คล้ายๆบันไดจักรยาน
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : เครื่องสีฝัด และเครื่องสีมือ
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เครื่องสีฝัด
ช่วยแยกแกลบและเศษผงออกจากข้าวเปลือก เมื่อเราหมุนเครื่องสีฝัด เราจะหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเฟืองตัวเล็กที่ใช้ขับเคลื่อนใบพัดทำให้เกิดลมที่จะพัดเอาวัตถุมวลเบา เช่น เศษฝาง แกลบ แล้วข้าวลีบแยกออกไปจากข้าวเปลือกที่จะร่วงลงสู่ท้องเครื่อง เครื่องสีฝันช่วยให้ชาวนาฝัดข้าวได้ทีละมากๆ แทนการใช้กระด้งกับพัด
เครื่องสีมือ
ใช้สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร มีลักษณะเป็นภาชนะสานคล้ายกระบุงสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่ต้องการสีที่ด้านบน ก้นกระบุงจะโหว่เพื่อสวมครอบลงบนแป้นหมุนไม้สองชิ้นที่วางซ้อนกัน ด้านบนของแป้นหมุนชิ้นบนใส่ดินเหนียวเพื่อเพิ่มแรงกดบนแป้นชิ้นล่าง ด้านข้างเสียบเดือยไม้เชื่อมต่อกับไม้คานด้วยข้อต่ออิสระ มีมือจับที่ปลายคานซึ่งแขวนจากเพดานเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักคานไว้ เมื่อเราออกแรงผลักมือจับไปข้างหน้า คานจะช่วยหมุนแป้นหมุน ก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างแป้นไม้ทั้งสองที่บากร่องไว้ที่พื้นผิวด้านใน ช่วยขยี้ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าวแล้วร่วงตกลงบนกระบะที่รองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อเราหมุนไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ทำให้เกิดแรงหมุนกลับมาได้เองทำให้เราไม่ต้องออกแรงดันมาก กลไกแบบนี้เรียกว่า “ข้อเหวี่ยง”
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักเคมี ผู้คิดค้นสูตรลับเอาใจข้าว
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
เพราะต้องคิดสูตรลับต่างๆเพื่อเอาใจข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรุงดิน สูตรปรุงยาบำรุง ให้พอเหมาะพอเจาะ จากแร่ธาตุรอบตัว เคล็ดลับอยู่ที่ “ความเข้าใจธรรมชาติ” เพียงเราช่วยธรรมชาติให้อยู่ในจุดที่สมดุลข้าวก็จะงอกงาม
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงดิน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูตรปรุงดิน ฉบับ ฟางไถกลบ
สูตรนี้เริ่มด้วยการ ไถกลบฟางข้าว เพราะฟางข้าวก็คือต้นข้าวรุ่นพี่ที่ให้ผลผลิตไปแล้วและย่อมดูดซับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับข้าวเอาไว้แล้ว วิธีการไม่ยุ่งยาก แค่ปล่อยน้ำเข้านาที่เก็บเกี่ยวแล้ว เหยาะจุลินทรีย์นิด ใส่ปุ๋ยขี้หมูอีกหน่อย เพื่อเร่งให้ฟางเปื่อยและสร้างแร่ธาตุ แล้วก็ไถพริกดินขึ้นมาคลุกเคล้ากัน เท่านี้ข้าวก็มีอาหารอร่อยๆกินแล้ว เริ่มปลูกข้าวได้ จากนั้นก็แค่คอยดูคอยเติม ตรงไหนข้าวไม่สวยก็ฉีดปุ๋ยจากขี้สัตว์ต่างๆ หรือแร่หิน ต่างคนก็ต่างสูตรกันไปแล้วแต่ของที่หาได้ในพื้นที่
สูตรน้ำจุลินทรีย์ ซอสปรุงดินแสนอร่อย
น้ำจุลินทรีย์ คือน้ำที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยได้อย่างรวดเร็ว ทำมาจากการนำดินจากป่าที่สมบูรณ์ที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์มาเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนด้วยการหมักกับกากน้ำตาลและรำข้าว ไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถใช้งานได้
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : สูตรปรุงยา
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
สูตรปรุงยา
ยาที่ข้าวต้องการมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “ยาบำรุง” และ “ยาป้องกันโรคและแมลง” โดยแทบจะไม่ต้องการยารักษาโรคเลยเพราะเมื่อเราบำรุงข้าวให้แข็งแรงตั้งแต่แรก ข้าวก็จะไม่เป็นโรคมาก ยาบำรุงนั้นจะทำจากของน่ากินทั้งนั้น อย่างไข่ไก่ นม กากน้ำตาล หรือแม้แต่นมเปรี้ยว ส่วนยาป้องกันโรคและแมลงก็จะเป็นของที่ไม่ค่อยอร่อยแต่มีประโยชน์อย่างพืชผักสมุนไพร หรือของที่มีพิษไปเลย เช่น เชื้อราต่างๆ ที่ช่วยฆ่าหนอนและแมลงได้ดี
ฮอร์โมนสูตรนมสด
หมักประมาณสามวันจนมีกลิ่นหอม แล้วกรองเอาแต่น้ำ 70 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ใช้ฉีดบำรุงข้าวเมื่อเริ่มแตกกอ
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด และยาฆ่าหนอน
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ยาฆ่าเพลี้ยกระโดด สูตรสมุนไพร
นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับหยาบๆ แล้วแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดแรกหมักกับเหล้าขาวและน้ำส้มสายชู ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจนน้ำเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง นำน้ำสมุนไพรที่ได้ไปเจือจางกับน้ำสะอาดอีก 5 ลิตร แล้วใช้ต้มกับสมุนไพรชุดที่สอง แล้วต้มสมุนไพรชุดที่สาม ด้วยขั้นตอนเดียวกัน รวม 3 ขั้นตอน ก็จะได้ยาไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูง
เวลาใช้ให้นำยา 50 ซีซี ไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวในระยะกล้าอายุ 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุก 10 วัน ไปจนกระทั่งข้าวออกรวงเข้าระยะน้ำนมจึงหยุดฉีด
ยาฆ่าหนอน สูตรเชื้อราทำมือ
ลุงชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนา ค้นพบว่าหนอนที่มากัดกินต้นข้าวนั้นตายเพราะเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อเอาลักษณะมาเทียบกับในหนังสือแล้วพบว่าตรงกับลักษณะของเชื้อโนมูเรีย จึงนำเอาหนอนที่ตายมาเพาะเชื้อราต่อด้วยการใส่นม กากน้ำตาล และตีออกซิเจนใส่ เวลาใช้กรองเอาแต่น้ำมา 100 ซีซี ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนแดดไม่จัดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราตาย
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ชาวนา = นักชีววิทยา ผู้จัดการความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ชาวนาผู้ช่ำชองจะรู้ว่า ไม่มีอะไรจะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ดีไปกว่าระบบนิเวศที่สมดุล สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในแปลงนาล้วนพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกัน ถ้าเราลำเอียงเร่งเลี้ยงข้าวให้โตอย่างเดียวโดยไม่แยแสสิ่งมีชีวิตอื่น ท้ายที่สุดข้าวและเราก็จะอยู่ไม่ได้ ชาวนาจึงมีหน้าที่เรียนรู้ธรรมชาติและคิดหากลยุทธ์ปลูกข้าวที่รักษาระบบนิเวศ เพื่อให้พลังแห่งความสมดุลเลี้ยงดูข้าวจนเติบโต
รู้จักเมนูโปรดของทุกสรรพสิ่ง
ชาวนาช่างสังเกตจะรู้ใจสัตว์ว่าตัวไหนชอบกินอะไร หากสัตว์ชนิดใดมีจำนวนมากเกินพอดี ก็จะต้องหาสัตว์ชนิดอื่นที่ชอบกิน หรือเป็นที่น่ากลัวของสัตว์ชนิดแรกมาอยู่ด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์อันเหนือชั้นทำให้ระบบนิเวศทำงานแทนเรา
ตัวห้ำเบียน ซุปเปอร์แมงของชาวนา
ตัวห้ำ คือ แมลงที่กินแมลงอื่นเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่วางไข่ในแมลงตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นในไข่ ในตัวอ่อน หรือตัวโตเต็มวัย แมลงทั้งสองชนิดช่วยควบคุมปริมาณของแมลงที่ทำลายข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไป
ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง : ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
ไขน้ำเข้า ไขน้ำออก หลอกข้าวให้โต
น้ำเป็นผู้ช่วยแสนวิเศษในการทำนาแต่ละขั้นตอน ในช่วงไถต้องเอาน้ำเข้าเพื่อเร่งการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์และช่วยให้ดินนิ่ม จากนั้นต้องไขน้ำออกไปไว้แปลงข้างๆ เพื่อหว่านกล้าไม่อย่างนั้นข้าวจะลอย เมื่อกล้าหยั่งรากแล้วจึงวิดน้ำเข้าอีกทีเพื่อเร่งให้ข้าวโต เพราะข้าวจะยืดตัวหนีน้ำ แถมน้ำยังช่วยท่วมหญ้าอีกด้วย หลังจากดำนาก็ต้องคอยไขน้ำออกหากมีโรคจากความชื้นและเพลี้ย เมื่อโตเต็มที่ก่อนตั้งท้องแล้วก็ไขน้ำออกจะช่วยให้ข้าวอ้วนให้รวงสวย
ฟื้นดินด้วยพืช
ชาวปกาเกอะญอที่ทำนาบนภูเขาลาดชั้นที่ธาตุอาหารในดินพร้อมจะถูกชะหายไปพร้อมกับฝนหลากหนัก นอกจากการทำนาขั้นบันไดเพื่อกักเก็บน้ำและธาตุอาหารแล้ว ชาวปกาเกอะญอยังมีวิธีฟื้นดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกโดยการทำ “ไร่หมุนเวียน” แต่ละครอบครัวจะมีที่ทำนาเจ็ดแห่ง เสร็จจากไร่ปีนี้ก็จะทิ้งให้ต้นไม้ที่ฟันไว้แค่ระดับเอวแตกยอดขึ้นมาใหม่แข่งกับพืชคลุมดินและไม้พุ่มนานาชนิดที่จะงอกงามเติบโต ช่วยฟื้นดินให้อุดมสมบูรณ์อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมสำหรับการกลับมาทำนาที่ไร่แห่งนี้ในอีกแปดปีข้างหน้า