Showing 3650 results

Archival description
Print preview View:

2537 results with digital objects Show results with digital objects

ภาพถ่ายรวมหน้าศาลพระภูมิ

  • แถวนั่ง นับจากซ้ายไปขวา (1) นายพงศ์ธร สงวนทรัพย์ (นักศึกษาฝึกงาน) (2) น.ส.ณัฐฐา โมนะ (3) น.ส.ไพรินทร์ มณีทิพย์ (4) น.ส.อมรรัตน์ วรวาท (5) น.ส.นลิน สินธุประมา (6) น.ส.รัชนก พุทธสุขา (7) น.ส.อรุณี อนันต์ธนาภรณ์ (8) น.ส.จารุณี แย้มชื่น (9) น.ส.ธนพร หมู่เจริญทรัพย์ (10) น.ส.ถิรดา วนศาสตร์โกศล (11) น.ส.มณฑาพร ภูติสุวรรณศรี (12) น.ส.รุ่งอรุณ ธนโชคศุภเศรษฐ์ (13) นายธนวุฒิ ลิ้มสุวรรณเกษม (14) น.ส.ดวิษา ทองเต็ม (15) น.ส.วรรณวิษา วรวาท

  • แถวยืน นับจากซ้ายไปขวา (1) น.ส.สุวนันท์ ตระกูล (นักศึกษาฝึกงาน) (2) น.ส.พันธุ์ทิพย์ เอโกบล (3) นายวรกานต์ วงษ์สุวรรณ (4) น.ส.ไรวินท์ สมสอง (5) น.ส.ชนน์ชนก พลสิงห์ (6) น.ส.ศราวัณ วินทุพราหมณกุล (7) น.ส.ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล (8) น.ส.บุญธิศา วิสาหะชน (9) นางยุวเนตร ประทุมทา (10) นายพาฉัตร ทิพทัส (11) นางจันทนา ศรีไพรงาม (12) นางพรจันทร์ เดชตระกูล (13) น.ส.ทฤษฎี สุคชเดช (14) น.ส.ปิยมาศ สุขพลับพลา (15) น.ส.สุขุมาล ผดุงศิลป์ (หัวหน้าฝ่ายแผน) (16) น.ส.ปฤษฎาพร โชติธรรม (หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ) (17) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร (หัวหน้าฝ่ายวิชาการ) (18) นายราเมศ พรหมเย็น (ผู้อำนวยการ สพร.) (19) นายจิรชัย มูลทองโร่ย (ประธานบอร์ด สบร.) (20) ดร.อธิปัตย์ บำรุง (ผู้อำนวยการ สบร.) (21) นายวุฒิพงศ์ โสมมัส (อดีตที่ปรึกษา สพร.) (22) นายทวีศักษ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร (23) นายมารุตพงศ์ กาแก้ว (24) นายชรรร ลันสุชีพ (25) มล.อรอำไพ พนานุรัตน์ (26) น.ส.ศิริพร เฟื่องฟูลอย (27) น.ส.ศิรดา เฑียรเดช (28) น.ส.นิภาพร เกิดสุข (29) น.ส.เนตรประภา บุรณศิริ (30) น.ส.วราภรณ์ วรกันต์ทรัพย์ (31) น.ส.ประภัสสร สุคนธสังข์ (32) นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี (33) น.ส.ฤดี ศรีชะเอม

การไหว้สักการะ

การไหว้สักการะศาลพระภูมิ จะใช้ธูปที่ใช้ในการไหว้จำนวน 9 ดอก เป็นการจุดธูปบูชาผู้มีพระคุณ พระภูมิเจ้าที่ เทพ เจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา ศาลพระภูมิ ศาลเทพ และธูปจำนวน 5 ดอก เป็นการจุดธูปบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่และครูบาอาจารย์
และมีพวงมาลัย ที่แสดงความเคารพ
ดอกไม้ที่นำมาร้อยพวงพาลัยมีความหมาย ดังนี้
ดอกมะลิ พบแต่ความสุขสดชื่น ไม่ว่าจะเป็นมะลิซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลในด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป
ดอกรัก พบแต่ความรักที่เปี่ยมด้วยความสุข
ดอกกุหลาบแดง ความปรารถนาดี ความห่วงใยที่มีให้กัน
ดอกกุหลาบขาว ความสะอาด บริสุทธิ์
ดอกจำปี จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง การงานก้าวหน้า
ดอกจำปา นำโชคมาสู่ครอบครัว
นอกจากนี้ยังมีการถวาย หมากพลู ที่แสดงถึงคุณงาม ความดี เกียรติยศ การสร้างความสัมพันธ์อันดี และน้ำเปล่า ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์

เครื่องสักการะ

เนื่องด้วย วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันครบรอบการเปิดมิวเซียมสยาม และในวันที่ 2 เมษายน 2562 นี้มิวเซียมสยามมีอายุครบ 11 ปี ทางหน่วยงานจึงจัดพิธีทางศาสนาขึ้น เป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและให้การทำงานราบรื่น จึงมีการเซ่นบรวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และสิ่งศักด์สิทธิ์

ความหมายของผลไม้ที่นำมาเซ่นไหว้ มีดังนี้

  1. ส้ม เป็นผลไม้แห่งความเป็นสิริมงคล ต้องเลือกส้มที่มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทอง เหตุเพราะ “สีทอง” เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส้มสายพันธุ์พิเศษอะไร ขอให้มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทองก็เป็นอันใช้ได้
  2. แก้วมังกร ผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับแก้วมังกร ตามคติความเชื่อของชาวจีนจะนับถือมังกรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบรูณ์ แถมเปลือกที่เป็นสีแดงของแก้วมังกรนั้นเป็นสีมงคล เป็นสีแห่งโชคลาภที่จะนำพาความโชคดีมาให้แก่ผู้ไหว้ แนะนำว่าหากเลือกผลที่มีสีข้างในเป็นสีเข้มจะยิ่งดีเข้าไปอีกค่ะ เพราะจะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
  3. กล้วย เชื่อกันว่าเป็นผลไม้แห่งความมั่งมี แนะนำว่าเป็นกล้วยหอมทองจะดีที่สุด ด้วยลักษณะของกล้วยที่ออกเป็นเครือ จึงมีความหมายในทางมงคลว่า ทำให้ครอบครัวเจริญงอกงาม มีลูกหลานมากมายไว้สืบสกุล
    4.แอปเปิ้ล เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ไหว้สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมารับประทานเพื่อเสริมมงคลให้กับชีวิต
  4. องุ่นแดง เชื่อกันว่าจะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า บวกกับวิตามินและสารอาหารที่อัดแน่น
  5. สัปปะรด เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ และมองการณ์ไกล
  6. สาลี่ เชื่อกันว่าจะทำให้มีโชคลาภและพบเจอแต่เรื่องดีๆ
  7. ส้มโอ หมายถึงผลไม้ที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ความเจริญงอกงาม ความอยู่ดีกินดี ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความเฟื่องฟู ความสมบูรณ์พูนสุข การมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ครอบครัวกลมเกลียว ความเจริญเติบโต(ของครอบครัวและการงาน)
  8. มะพร้าวแสดงถึงตัวตนแห่งพระเป็นเจ้า เปลือกนอกคือส่วนแข็ง ใช้ในการป้องกันสิ่งชั่วร้ายสิ่งไม่ดี เนื้อในที่หวานหอม เปรียบพระเมตตาของพระองค์ ส่วนน้ำมะพร้าวถือเป็นส่วนที่บริสุทธิ์ที่สุด หมายถึงหัวใจของพระเจ้าที่บริสุทธิ์
  9. อ้อย เนื่องจากท่านพระพิฆเนศเป็นช้าง จึงควรถวายมังสวิรัติ และอีกหนึ่งความเชื่อคือ อ้อยเป็นพืชที่ใช้ในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้กลายเป็นดีของผู้คนชาวล้านนา
  10. หมากพลู มีความเชื่อว่าเป็นของวิเศษมาแต่โบราณกาล สามารถแก้คุณไสย มนต์ดำได้ และสามารถกลายเป็นพระธาตุ ถ้าผู้เคี้ยวเป็นผู้มีบุญมาก และยังสามารถไปทำเป็นของขลังได้ อานุภาพมากมาย

ความหมายของขนมหวานที่นำมาเซ่นไหว้ มีดังนี้

  1. ขนมต้มขาว หรือขนมต้มแดง เป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด ถึงขนาดที่กินจนท้องแตกก็ยังกอบเอาขนมที่หกเลอะอยู่ที่พื้นกลับเขาท้องอีกครั้งด้วยความเสียดาย ขนมต้มจึงเหมือนเป็นขนมที่ใช้ถวายต่อองค์พระพิฆเนศวร เพื่อขอพรจากพระองค์ท่าน ให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวาง
  2. ขนมชั้น หมายถึง ทำให้มีสิริมงคลก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่ หรือตำแหน่งชั้นยศที่สูงขึ้น ได้รับการเลื่อนขั้น
  3. เม็ดขนุน ความหมายคือ มีคนคอยเกื้อหนุนจุนเจือ มีคนช่วยเหลือสนับสนุนไม่ว่าทางด้านการงานหรือเรื่องการใช้ชีวิต
  4. ทองหยิบ ความหมายสื่อถึงความมั่งคั่งร่ำรวย มีเงินมีทองใช้ไม่ขาดมือ หมายถึงการหยิบเงินหยิบทองเพื่อความรุ่งเรือง
  5. ทองหยอด ความหมายสื่อถึงทอง อวยพรให้คู่บ่าวสาวร่ำรวยเงินทอง
  6. ฝอยทอง ความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง
  7. ขนมถ้วยฟู หรือ ขนมปุยฝ้าย ความหมายคือ ความเจริญรุ่งเรือง ความเฟื่องฟู และความรุ่งเรือง
  8. ขนมหม้อแกง ในสมัยเริ่มแรกนั้น เรียกว่า ขนมกุมภมาศ หรือ ขนมหม้อทอง มาจากคำว่า กุมภ แปลว่า หม้อ และ มาศ แปลว่า ทอง

การเตรียมความพร้อมศาลพระภูมิ

ในการจัดเตรียมศาลพระภูมิก่อนการสักการะ จะมีการนำบายศรีเทพมาบูชา ซึ่งประกอบด้วยองค์บายศรี 16 นิ้ว เรียกว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง 16 ชั้นฟ้า มี 4 องค์ และมีลูก 9 นิ้ว อีก 4 องค์ รวมเป็น 8 ทิศ ตามความเชื่อที่ว่า ทิศทั้ง 8 ทิศ มีเทพปกปักรักษาคุ้มครองอยู่ บายศรีเทพบางแห่งจะเรียกว่า บายศรีพรหมเทพ ความสำคัญของบายศรีเทพ นิยมถวายเป็นคู่ หรือจะถวายเดี่ยวก็ได้ แต่ถ้าถวายเดี่ยว ควรตั้งบายศรีไว้ตรงกลาง ใช้ในโอกาสต่างๆ ดังนี้

  1. การบูชาพระ
  2. พิธีการบวงสรวงเทวดาอารักษ์
  3. พิธีการไหว้ครูประจำปี
  4. การบูชาองค์เทพที่อยู่ในชั้นเทวโลกทุกๆ ชั้น
  5. ใช้สำหรับต้อนรับองค์เทพที่อยู่บนสวรรค์ชั้นเทวโลก
    นำดอกกล้วยไม้ ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จ และเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงมิตรภาพ ความงดงาม ความบริสุทธิ์และพวงมาลัยดอกดาวเรือง ซึ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มาบูชา

ทำบุญครบรอบ 11 ปี มิวเซียมสยาม

จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
ดร.อธิปัตย์ บำรุง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ได้เข้าร่วมทำบุญครบรอบ 11 ปี มิวเซียมสยาม ในวันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ.2562 ซึ่งมิวเซียมสยามก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ฝ่ายอำนวยการ งานบริหารทั่วไป

ความศักดิ์สิทธิ์

1.ดอกมะลิ
หมายถึงพบแต่ความสุขสดชื่น ไม่ว่าจะเป็นมะลิซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลในด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป
2.ดอกรัก
หมายถึงพบแต่ความรักที่เปี่ยมด้วยความสุข
3.ดอกกุหลาบ
หมายถึงพบแต่ความมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น

ความขลัง

ความหมายของบายศรีสู่ขวัญ
บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ
คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย

ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก

ของไหว้

ผลไม้

  1. ส้ม เป็นผลไม้แห่งความเป็นสิริมงคล ต้องเลือกส้มที่มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทอง เหตุเพราะ “สีทอง” เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส้มสายพันธุ์พิเศษอะไร ขอให้มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทองก็เป็นอันใช้ได้
  2. แก้วมังกร ผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับแก้วมังกร ตามคติความเชื่อของชาวจีนจะนับถือมังกรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบรูณ์ แถมเปลือกที่เป็นสีแดงของแก้วมังกรนั้นเป็นสีมงคล เป็นสีแห่งโชคลาภที่จะนำพาความโชคดีมาให้แก่ผู้ไหว้ แนะนำว่าหากเลือกผลที่มีสีข้างในเป็นสีเข้มจะยิ่งดีเข้าไปอีกค่ะ เพราะจะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
  3. กล้วย เชื่อกันว่าเป็นผลไม้แห่งความมั่งมี แนะนำว่าเป็นกล้วยหอมทองจะดีที่สุด ด้วยลักษณะของกล้วยที่ออกเป็นเครือ จึงมีความหมายในทางมงคลว่า ทำให้ครอบครัวเจริญงอกงาม มีลูกหลานมากมายไว้สืบสกุลนั่นเองค่ะ
    4.แอปเปิ้ล เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ไหว้สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมารับประทานเพื่อเสริมมงคลให้กับชีวิต
  4. ทับทิม เชื่อกันว่าหากไหว้ด้วยทับทิมจะช่วยเสริมในเรื่องของครอบครัวนั่นเองค่ะ จะทำให้คนในครอบครัวนั้นรักใคร่กัน อยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น ไม่มีเรื่องขัดแย้งหรือบาดหมางกัน
  5. องุ่น เชื่อกันว่าจะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า บวกกับวิตามินและสารอาหารที่อัดแน่น
  6. ทับทิม เชื่อกันว่าจะทำให้ครอบครัวอบอุ่น ไม่มีเรื่องขัดแย้งบาดหมางกัน
  7. สัปปะรด เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ และมองการณ์ไกล
  8. สาลี่ เชื่อกันว่าจะทำให้มีโชคลาภและพบเจอแต่เรื่องดีๆ
    10.ชมพู่ เชื่อกันว่า จะได้มีคนคอยชื่นชม
  9. ส้มโอ หมายถึงผลไม้ที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ความเจริญงอกงาม ความอยู่ดีกินดี ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความเฟื่องฟู ความสมบูรณ์พูนสุข การมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ครอบครัวกลมเกลียว ความเจริญเติบโต(ของครอบครัวและการงาน)

ดอกไม้
1.ดอกมะลิ
พบแต่ความสุขสดชื่น ไม่ว่าจะเป็นมะลิซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลในด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป
2.ดอกรัก
พบแต่ความรักที่เปี่ยมด้วยความสุข
3.ดอกกุหลาบ
พบแต่ความมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น

ขนมไทย

  1. ขนมถ้วยฟู มีลักษณะปุย เนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขมแตกฟูออก มีหลากหลายสี มีความหมายคือ เฟื่องฟู งอกงาม
  2. ขนมสาลี่ มีลักษณะเนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขนมที่แตก ฟูสวยงามเป็นแฉกๆเหมือนดอกฝ้ายที่แตกออกจากฝัก ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
  3. ขนมต้ม ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ มีมะพร้าวขูดโรยหน้า มีสีสันที่หลากหลาย ถวายเพื่อขอพรให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวาง
  4. ขนมชั้น มีลักษณะเป็นชั้น ให้ได้ 9 ชั้น มีสีที่แตกต่างกัน น สีเขียว สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น ขนมชั้น หมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง 9 ชั้น ถือเคล็ดกันว่าจะได้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง
  5. ขนมทองหยิบ เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่งมีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ขนมทองหยิบ หมายถึง มีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
  6. ทองหยอด มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองทอง แวววาว มีความหมายคือ เงินทองมีใช้ไม่ขาดสาย
  7. ฝอยทอง มีลักษณะเป็นเส้นนิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้นต้องปล่อยให้เป็น เส้นยาวๆ เพื่อที่คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่ และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป รวมถึงชีวิตยืนยาวด้วยเช่นกัน
  8. ขนมทองเอก มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่น กว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม มีความหมายคือ ความร่ำรวย
  9. ขนมเม็ดขนุน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด ความหมายคือ ความร่ำรวยเงินทอง ลาภ ยศ

พระภูมิ

ประวัติของศาลพระภูมิมีตำนานเล่าขาลมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ในสมัยของพระเจ้าทศราชครองเมืองพาลี ที่ทรงมีพระมเหสีนามว่า นางสันทาทุกข์ และทรงได้คลอดโอรส 9 พระองค์ นามว่า พระชัยมงคล พระนครราช พระเทเพน พระชัยสพ พระคนธรรพ์ พระธรรมโหรา พระวัยทัต พระธรรมิราช และพระทาษธารา ซึ่งทั้งหมดมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภูมิเหมือนกัน หหลังจากเติบใหญ่พระเจ้าทศราชทรงให้ออกครองภูมิสถานประจำในสถานที่ต่างๆกัน เมื่อครั้งกาลเวลาผ่านไปจนสิ้นอายุขัยพระโอรสทั้ง 9 องค์ก็ยังทรงครองภูมิตัวเองอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น พระองค์ทรงขอพื้นที่ของพระภูมิจากโอรสทั้ง 9 แต่ด้วยเหตุที่ทำให้โอรสทั้ง 9 ต้องออกจากภูมิตัวเองจึงเป็นที่ลำบากจนต้องขอกลับมาอยู่ที่ภูมิของตนจากพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตพร้อมได้พรว่า ผู้ที่จะกระทำการใดๆที่เกี่ยวกับพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ ควรสักการบูชาพระภูมิเสียก่อน จึงจะได้รับความสุข และลาภผลในตน ตั้งแต่นั้นมาก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหากมีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นดินหรือสถานที่จึงมักมีการสักการะพระภูมิเสมอ

ด้วยเหตุนี้ พระภูมิจึงเป็นความเชื่อของคนไทย และชาวพุทธทั่วไปถึงพิธีมงคลที่ทำต่อพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆต้องมีการสักการะพระภูมิเสมอ โดยมีหลักความเชื่อต่อมาว่าควรจัดทำบ้านจำลอง วังจำลองหรือที่เราเรียกว่า ศาลพระภูมิ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระภูมิไว้สำหรับเป็นสถานสักการะหากมีพิธีมงคลต่างๆ โดยมีความเชื่อว่า พื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ จะมีพระภูมิเฝ้าประจำในแต่ละสถานเสมอ ซึ่งมักมองภาพถึงคนที่แต่งชุดโจงกระเบนสีขาว และสวมหมวกเป็นฉัตรปลายแหลมเสมอ ที่คอยปกปักรักษา คุ้มครองภัยอันตรายจากสิ่งอัปมงคลต่างๆไม่ให้เข้าสู่สถานที่แห่งนั้นหรือมาพบพาลสร้างสิ่งอัปมงคลแก่ผู้ถือครองที่นั้นๆ

ไหว้พระภูมิเจ้าที่ เนื่องในวาระครบ 10 ปี มิวเซียมสยาม

เป็นการบูชาสักการะพระภูมิเจ้าที่เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

ถวายสังฆทาน

อานิสงส์การถวายสังฆทาน
สังฆทานคือทานที่มุ่งเจาะจงไปในหมู่สงฆ์โดยไม่เลือกถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่ง ถวายให้เป็นสิทธิ์กลางแด่คณะสงฆ์ เพื่อคณะสงฆ์จะจัดสรรแบ่งปันต่อไป การถวายสังฆทานแม้ถวายพระภิกษุเพียงรูปเดียว แต่ถ้าท่านมารับถวายในนามตัวแทนสงฆ์ก็จัดว่าเป็นสังฆทานเช่นกัน

สังฆทาน...เป็นทานที่ขยายใจให้กว้างไปในความเป็นหมู่คณะ คือ เพื่อให้เป็นประโยชน์แด่สงฆ์โดยส่วนรวม ไม่เหมือนปาฏิบุคลิกทาน ซึ่งเป็นทานที่เลือกถวายเจาะจงแด่พระที่ค้นุ เคยหรือที่ตนศรัทธาเท่านั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่ามีผลมากกว่าปาฏิบุคลิกทานดังนี้

“เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าสังฆทานด้วยปริยายอะไร ๆ เลย สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า”

การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะสังฆทานเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน
ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใดผู้ถวายทานก็มักจะบอกหรือเขียนชื่อนามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ

ถวายภัตตาหารเพล

อานิสงส์การถวายภัตตาหารและจตุปัจจัยไทยธรรม ได้แก่

  1. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย อายุ คือ มีอายุขัยยืนยาวปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
  2. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย วรรณะ คือ มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส เป็นที่ดึงดูดตา ดึงดูดใจ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้พบเห็น ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งโอกาสและโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
  3. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย สุขะ คือ มีความสุขทั้งกายและใจ มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง เบิกบานอยู่เป็นนิจ
  4. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย พละ คือ มีเรี่ยวแรงมหาศาล เป็นที่เคารพยำเกรงของมหาชนทั้งหลาย
  5. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ปฏิภาณ คือ มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด หลักแหลม รอบรู้ในสรรพวิชาทั้งปวง
  6. เมื่อสละความตระหนี่ออกจากใจและทำบุญถูกเนื้อนาบุญ ย่อมเป็นเหตุให้ทรัพย์สมบัติบังเกิดขึ้นโดยง่าย
  7. เป็นที่เคารพรักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
  8. เดินทางไป ณ สถานที่แห่งใดย่อมได้รับการต้อนรับอย่างดี
  9. เป็นผู้มีกำลังใจในการสร้างบารมีอย่างไม่สิ้นสุด

เจริญพระพุทธมนต์

บทเจริญพระพุทธมนต์
การเจริญพระพุทธมนต์ นิยมใช้ในงานมงคล ก่อนแต่จะเจริญพระพุทธมนต์นั้น
ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านศาสนพิธี จะนำกล่าวคำอาราธนาพระปริตร,บทเจริญพระพุทธมนต์ ดังนี้

คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสัทธิยา
สัพพะ ทุกขะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ ภะยะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ โรคะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

การเจริญพระพุทธมนต์ต้องประกอบด้วยบทสวดอะไรบ้าง?
ประกอบด้วยบทสวด ดังนี้
ชุมนุมเทวดา
นอบน้อมพุทธคุณ
ไตรสรณคมน์
นะมะการะสิทธิคาถา
นะโมการะอัฏฐะกะคาถา
บทขัดตำนาน
บทขัดมังคะละสูตร
มังคะละสูตร
บทขัดระตะนะสูตร
ระตะนะสูตร
บทขัดกะระณียะเมตตะสูตร
กะระณียะเมตตะสูตร
บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
ขันธะปะริตตะคาถา
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
บทขัดโมระปริตร
โมระปริตร
บทขัดวัฏฏะกะปริตร
วัฏฏะกะปริตร
บทขัดอังคุลิมาละปริตร
อังคุลิมาละปริตร
บทขัดโพชฌังคะปริตร
โพชฌังคะปริตร
บทขัดอะภะยะปริตร
อะภะยะปริตร
บทขัดอาฏานาฏิยะปริตร
อาฏานาฏิยะปริตร
ถวายพรพระ

เครื่องสังฆทาน

องค์ประกอบของสังฆทานควรมีอะไรบ้าง?
ควรเป็นสิ่งของที่พระสงฆ์สามารถนำไปใช้งานได้จริง ได้แก่
1.ยาสระผม คนมักคิดว่าพระไม่มีผมไม่จำเป็นต้องใช้ยาสระผม แต่จริง ๆ แล้วจำเป็นเพราะส่วนหนึ่งอาจมีคราบไคลและไขมันที่เกาะสกปรกตามหนังศีรษะอยู่บ้าง
2.มีดโกน
3.อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น จาน กะทะ หม้อ ช้อน แก้วน้ำ ที่มีคุณภาพ พระสามารถใช้เป็นของส่วนตัวและเอื้อเฟื้อสำหรับญาติโยมที่มาทำบุญได้ด้วย
4.อุปกรณ์ช่าง ค้อน ตะปู ไขควง สว่าน ที่พระมีโอกาสได้ใช้ในการซ่อมแซมต่าง ๆ ในวัดและกุฏิ
5.อุปกรณ์ทำความสะอาด ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ไม้กวาดแข็ง ที่โกยขยะ เป็นอุปกรณ์จำเป็น
6.ข้าวสาร อาหารแห้ง
7.เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ
8.หนังสือธรรมะ หรือหนังสือแนวทางการดูแลสุขภาพ
9.ผ้าสบง จีวร ผ้า
10.ยาสมุนไพร ยารักษาโรค

โต๊ะหมู่บูชา

เริ่มมีมาแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น สืบเนื่องมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างม้าหมู่ขึ้นสำหรับตั้งเครื่องบูชาหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นม้าหมู่ขนาดใหญ่และม้าหมู่ขนาดน้อยที่ตั้งประจำวิหารทิศ แต่ยังไม่มีโต๊ะตัวล่างที่เป็นฐานรองรับม้าหมู่ ซึ่งเป็นการจัดแปลงโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนมาเป็นอย่างไทย และต่อมามีผู้นิยมจัดโต๊ะเครื่องบูชาม้าหมู่เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีโต๊ะประกอบเป็นที่ตั้งเครื่องบูชาในการทำบุญโอกาสต่าง ๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์ และของเจ้านายผู้ใหญ่ในสมัยนั้น

ในช่วงระยะเวลาที่ถือว่าได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับโต๊ะหมู่บูชามากที่สุดยุคหนึ่งก็คือ ในการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าภาษี นายอากร พ่อค้า จัดโต๊ะเครื่องบูชาเข้าไปตั้งเป็นเครื่องประดับ จำนวน 100 โต๊ะ ซึ่งเป็นปฐมเหตุที่ให้มีความนิยมในการประกวดโต๊ะเครื่องบูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชาถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะการจัดโต๊ะหมู่บูชา 5 เป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมจัดกันมาก

ทำบุญครบรอบ 10 ปี มิวเซียมสยาม

2 เมษายน ของทุกปี คือวันครบรอบวันเปิดบริการมิวเซียม ซึ่งวันที่ 2 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2561 นี้ครบรอบ 10 ปี ทางเจ้าหน้าที่ สพร. จึงจัดเตรียมของไหว้เพื่อสักการะพระภูมิเจ้าที่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงานและคนทำงานทุกคน

รับประทานอาหารร่วมกัน

รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันหลังจากถวายเพลพระแล้ว เป็นการรับประทานอาหารพูดคุยพบปะกันของเจ้าหน้าที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซี่ยมสยาม)

พระให้พร

บทสวด พระให้พร
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินาสะตุ
มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ
อภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฒฑาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัชชันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

ความจัญไรทั้งปวงจงพินาศไป โรคทั้งปวงของท่านจงหาย
อันตรายทั้งปวงจงอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
ธรรม 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น

ประเคนอาหารเพล

การประเคนหมายถึงการมอบให้ด้วยความเคารพ ใช้ปฎิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น มีวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์รับ หรือหยิบสิ่งของมาขบฉันเอง โดยไม่มีผู้ประเคนให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการถวายแล้วหรือยังไม่ได้ถวาย จึงให้พระภิกษุสงฆ์รับของประเคนเท่านั้น ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น น้ำฝน น้ำประปา เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่า สิ่งของนั้นๆ เป็นของจัดถวายพระภิกษุสงฆ์แน่นอน โดยมีผู้ประเคนเป็นพยานรู้เห็นด้วยผู้หนึ่ง การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระภิกษุสงฆ์ปฎิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

การประเคนที่ถูกต้องตามหลักพระวินัยมีลักษณะที่กำหนดไว้ 5 ประการ ดังนี้

  1. สิ่งของที่จะประเคนต้องไม่ใหญ่จนเกินไปหรือหนักเกินไป ขนาดคนพอมีกำลังปานกลางยกขึ้นได้ ถ้าหนักหรือใหญ่เกินไปไม่ต้องประเคน

  2. ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส คือเอามือประสานกันแล้วยื่นไปข้างหน้า ห่างจากพระภิกษุสงฆ์ผู้รับประมาณ 1 ศอก

  3. ผู้ประเคนน้อมสิ่งนั้นส่งให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกริยาอ่อนน้อม แสดงความเคารพ

  4. การน้อมสิ่งของเข้ามาให้นั้นจะส่งให้ด้วยมือก็ได้หรือใช้ขิงเนื่องด้วยกายก็ได้ เช่น ใช้ทัพพี หรือช้อนตักอาหารใส่บาตรที่ท่านถือ หรือสะพายอยู่ก็ได้

  5. ในกรณีผู้ประเคนเป็นชาย พระภิกษุสงฆ์ผู้รับจะรับด้วยมือ ในกรณีผู้ประเคนเป็นผู้หญิง จะรับด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ผ้าทอดรับ ใช้บาตรรับ ใช้จานรับ

Results 2001 to 2020 of 3650