Showing 3650 results

Archival description
Print preview View:

2537 results with digital objects Show results with digital objects

แผนกงานพัสดุ

แผนกงานพัสดุ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ดำเนินการจัดจ้าง จัดซื้อพัสดุ จัดทำสัญญา การแจกจ่ายพัสดุ จัดทำทะเบียนพัสดุ ทะเบียนควบคุมพัสดุ ดำเนินการจำหน่วยทะเบียนพัสดุ การขายทอดตลาด

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายอำนวยการ. แผนกกงานพัสดุ

การประพรมน้ำมนต์

น้ำมนต์ที่สำเร็จด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ในงานพิธีมงคลต่างๆ จะถือว่าเป็นน้ำที่มีความมงคล เมื่อนำมาประพรมทั้งบริเวณร่างกายหรืออาคารบ้านเรือนแล้ว จะทำให้เกิดสิริมงคลนำความสวัสดีมีโชคมาให้ รวมถึงการปัดเป่าสิ่งอัปมงคล อันตรายต่างๆ โดยไม้ที่ใช้ในการประพรมน้ำมนต์ คือ กำคา มีที่มาจากแกนก้าน หรือสันใบของหญ้าคาที่แก่จัด ตัดให้เหนือโคนใบขึ้นมาเล็กน้อย นำมารูดใบเขียว ที่ติดอยู่ด้านข้างทั้งสองข้างออกทิ้งไป จะเหลือแกนก้าน ที่ค่อนข้างแข็ง จากนั้นนำแกนก้านนั้นไปผึ่งแดดพอให้คายน้ำแห้ง เพื่อไม่ให้ขึ้นราหรือเน่า แล้วนำไปผึ่งต่อในร่มเพื่อให้แห้งสนิท การที่ไม่ผึ่งแดดโดยตรงมากนัก ก็เพราะแสงแดดจะทำให้แห้งมากเกินไปจนกรอบ เมื่อแกนหญ้าคานั้นแห้งดีแล้ว นำมาคัดขนาดของก้านให้อวบ ใหญ่เท่าๆ กัน ไม่มีตำหนิที่ก้าน และคัดจำนวนให้ได้ 108 ก้าน แล้วจึงมัดรวมกันด้วยด้ายสายสิญจน์ที่โคนก้าน เพื่อให้เป็นที่จับได้สะดวก และป้องกันไม่ให้กำแตกง่ายอีกด้วย

การเจิม

การเจิม เพื่อก่อให้เกิด ความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ อุปกรณ์ที่ใช้คือ ดินสอพอง

การรับพร

หลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้วจะมีการสวดบทสวดให้พรแก่ผู้มีพระคุณหลังรับประทานอาหาร นั่นก็คือ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา
วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ

เสร็จพิธีก็จะมีการถวายเครื่องสังฆทาน ประกอบด้วยปัจจัย 4  (ยกเว้นที่อยู่อาศัย) รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ซึ่งพระสงฆ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง คือ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องอุปโภค โดยคำกล่าวถวายเครื่องไทยธรรม มีดังนี้

อิมานิ มะยัง ภันเต, จะตุปัจจะยาทีนิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, จะตุปัจจะยาทีนิ, สะปะริวารานิ, ปะฎิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง,หิตายะ, สุขายะ, นิพพานายะ จะฯ

คำแปล

ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, เครื่องไทยธรรม, มีปัจจัยสี่เป็นต้น, พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้,แด่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์, จงรับ, เครื่องไทยธรรม, มีปัจจัยสี่เป็นต้น, พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์,เพื่อความสุข, เพื่อมรรคผลนิพพาน, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนานเทอญ

พิธีสงฆ์ให้พร

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์พึงปฏิบัติโดยเฉพาะในงานมงคล โดยบทพระพุทธมนต์ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ใช้กันโดยทั่วไป ประกอบด้วย เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสมยสูตร โพชฌงคสูตร คิริมานนทสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ชยมงคลคาถา คาถาจุดเทียนชัย และคาถาดับเทียนชัย

ในระหว่างการสวดเจริญพระพุทธมนต์จะใช้สายสิญจน์ประกอบการสวด ซึ่งสายสิญจน์ทำจากด้ายดิบ โดยการวงด้ายสายสิญจน์มีคตินิยมมาจากการทำพิธีรดน้ำที่ประกอบด้วยเวทย์มนต์คาถา เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เพราะคำว่า ”สิญจน์” แปลว่า การรดน้ำ การเทน้ำ คำว่า “สายสิญจน์” จึงหมายถึง สายโยงแห่งการรดน้ำพิธี หรือ เส้นด้ายที่นำมาใช้ในพิธีรดน้ำ สายสิญจน์ทำจากด้ายดิบนำมาจับทบกัน โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ดเดียว จับออกครั้งแรกเป็น 3 เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น 9 เส้น การวงด้ายด้ายสายสิญจน์ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ 9 เส้น และมีการทำน้ำมนต์ โดยในการทำน้ำมนต์นั้น จะใช้เทียนสีขาว แต่เดิมจะใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ (สีเหลือง) แต่เนื่องจากมีราคาสูงและเมื่อหยดทำน้ำมนต์จะมีคราบดำๆติดอยู่ เลยนิยมมาใช้เทียนไขสีขาวแทนเพราะน้ำมนต์จะดูสะอาดตาดีกว่า

ภาพถ่ายรวมหน้าอาคารสำนักงาน

  • แถวนั่ง นับจากซ้ายไปขวา (1) น.ส.อรุณี อนันต์ธนาภรณ์ (2) น.ส.ธนพร หมู่เจริญทรัพย์ (3) น.ส.จารุณี แย้มชื่น (4) น.ส.ดวิษา ทองเต็ม (5) น.ส.มณฑาพร ภูติสุวรรณศรี (6) น.ส.ถิรดา วนศาสตร์โกศล (7) น.ส.รุ่งอรุณ ธนโชคศุภเศรษฐ์ (8) น.ส.อมรรัตน์ วรวาท (9) น.ส.ไพรินทร์ มณีทิพย์ (10) น.ส.ณัฐฐา โมนะ (11) น.ส.รัชนก พุทธสุขา

  • แถวยืน นับจากซ้ายไปขวา (1) น.ส.ประภัสสร สุคนธสังข์ (2) น.ส.ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล (3) นางพรจันทร์ เดชตระกูล (4) น.ส.บุญธิศา วิสาหะชน (5) นายประชา สุขสบาย (6) น.ส.ไรวินท์ สมสอง (7) นายชรรร ลันสุชีพ (8) น.ส.ศิรดา เฑียรเดช (9) นางจันทนา ศรีไพรงาม (10) นางยุวเนตร ประทุมทา (11) น.ส.ทฤษฎี สุคชเดช (12) น.ส.ปิยมาศ สุขพลับพลา (13) น.ส.ศิริพร เฟื่องฟูลอย (14) นายวุฒิพงศ์ โสมมัส (อดีตที่ปรึกษาสพร.) (15) น.ส.นิภาพร เกิดสุข (16) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร (หัวหน้าฝ่ายวิชาการ) (17) น.ส.วรรณวิษา วรวาท (18) น.ส.วราภรณ์ วรกันต์ทรัพย์ (19) น.ส.เนตรประภา บุรณศิริ (20) น.ส.สุขุมาล ผดุงศิลป์ (หัวหน้าฝ่ายแผน) (21) น.ส.ชนน์ชนก พลสิงห์ (22) นายราเมศ พรหมเย็น (ผู้อำนวยการ สพร.) (23) น.ส.ฤดี ศรีชะเอม (24) นายจิรชัย มูลทองโร่ย (ประธานบอร์ด สบร.) (25) นายวรกานต์ วงษ์สุวรรณ (26) ดร.อธิปัตย์ บำรุง (ผู้อำนวยการ สบร.) (27) นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี (28) นายทวีศักษ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร (29) น.ส.ปฤษฎาพร โชติธรรม (หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ) (30) มล. อรอำไพ พนานุรัตน์ (31) นายมารุตพงศ์ กาแก้ว (32) น.ส.สุวนันท์ ตระกูล (นักศึกษาฝึกงาน) (33) นายพงศ์ธร สงวนทรัพย์ (นักศึกษาฝึกงาน) (34) น.ส.ณัฐฐา โมนะ (35) นายธนวุฒิ ลิ้มสุวรรณเกษม (36) น.ส.นลิน สินธุประมา

Results 1981 to 2000 of 3650