ดอกไม้ไทย

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

ดอกไม้ไทย

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ดอกไม้ไทย

คำศัพท์Associated

ดอกไม้ไทย

3 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for ดอกไม้ไทย

3 results directly related Exclude narrower terms

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องแขวนดอกไม้สด

เครื่องแขวนดอกไม้สด

ดอกไม้พื้นถิ่นของไทยมีขนาดเล็กและส่งกลิ่นหอม อาทิ ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่มีดอกไม้ขนาดใหญ่ มีก้านยาว และนำมาจัดตกแต่งเป็นช่อได้ ดังนั้น ศิลปะการจัดดอกไม้แบบไทยจึงเป็นการนำดอกไม้มาร้อยเรียงกันให้เป็นเครื่องแขวนรูปทรงต่างๆ แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่ประณีตและวิจิตร

นอกจากใช้แขวนเพดาน ข้างฝา ช่องประตูหน้าต่าง ช่องม่านแหวกในงานพิธีหรือวันสำคัญต่างๆ ยังทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอากาศ ยามลมพัดมาคราใด จะพาเอากลิ่นหอมเย็นสบายของดอกไม้ไทยโชยมาด้วย

น้ำอบในขันใบเล็ก

ขันเงินใบเล็กสำหรับตักน้ำรดผู้อาวุโส โดยจะรดทีละคน และผู้อาวุโสเป็นผู้ให้พรกับผู้รดน้ำ โดยในแต่ละขันต้องมทั้งดอกมะลิและดอกกุหลาบอยู่ในขันด้วยทุกใบ

น้ำอบ

ขันใบใหญ่ที่เต็มไปด้วยดอกมะลิและกลีบกุหลาบ ในขันใบใหญ่นี้มีน้ำอบซึ่งผสมกับน้ำเปล่าเพื่อเตรียมสำหรับพิธีรดน้ำดำหัวเนื่องในวันปีใหม่ไทย ซึ่งนอกจากดอกมะลิและกลีบกุหลาบจะมีความหอมสดชื่นเย็นสบายแล้ว ดอกมะลิยังแสดงถึงความสงบสุข ร่มเย็น แก่ผู้เข้าร่วมพิธี และดอกกุหลาบก็สื่อถึงความรัก ความเมตตาที่ผู้น้อยมีต่อผู้อาวุโสด้วย
“น้ำอบไทย” คือน้ำที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ (ทำจากผิวมะกรูด กำยาน น้ำตาลแดง ขี้ผึ้ง และจันทน์เทศ) และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีลักษณะเป็นน้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ มีการนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานสงกรานต์ งานขึ้นปีใหม่ สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และใช้ในงานศพ เป็นต้น ซึ่งการใช้น้ำอบไทยในงานประเพณีต่างๆ เป็นเครื่องแสดงถึงการสืบทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสังคมไทย
น้ำอบไทยมีหลายกลิ่นที่นิยมกันคือน้ำอบไทยกลิ่นพิกุล กลิ่นชมนาด กลิ่นพุทธชาด หรือจะเป็นกลิ่นพื้นฐานสี่กลิ่นของน้ำอบชาววังแบบทั่วๆไปที่ใช้กลิ่นดอกไม้ 4 ชนิด

  1. ดอกมะลิ ถือเป็นดอกไม้หลักในการอบร่ำปรุงน้ำอบเพื่อให้น้ำอบมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ
  2. ดอกกระดังงาไทย ที่ใช้ความร้อนจากเปลวเทียนให้ขับน้ำมันหอมระเหยออกมามากกว่าปกติ เมื่อนำไปลอยบนผิวน้ำกลิ่นน้ำมันหอมจะละลายไหลออกมากำซาบจับบนผิวน้ำ
  3. ดอกกุหลาบมอญหรือยี่สุ่นเทศ ให้กลิ่นหอมหวานติดปลายนาสิกตามแบบโบราณ
  4. ดอกแก้วหรือไฮซินเป็นตัวผสานกลิ่นน้ำอบทั้งหมดให้หอมยิ่งขึ้น
    4 กลิ่นนี้เป็นต้นกลิ่นของน้ำอบไทยให้กลิ่นเย็นร่ำซาบซ่านหอมอบอวลทวนลมฟุ้งไปไกล น้ำอบไทยมีหลายตำหรับแบ่งแยกการปรุงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของตำหรับที่คิดค้นว่าอยากให้กลิ่นหอมของน้ำอบไทยมีกลิ่นหอมแรงหรือหอมหวาน หลักๆแล้วน้ำอบไทยโบราณจำแนกได้เป็น 2 อย่างคือน้ำอบที่อบด้วยดอกไม้สดใช้ดอกไม้หอมที่กำลังบานแย้มมาอบน้ำที่จะปรุงน้ำอบ กับน้ำอบที่ไม่มีส่วนประกอบของดอกไม้สดเลย ซึ่งแน่นอนว่าน้ำอบตำหรับชาววังแบบโบราณนั้นต้องใช้ดอกไม้สดในการปรุงแต่ง
    อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่คือภาชนะสำหรับใส่น้ำอบ ซึ่งเป็นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในการใช้ขันเงินหรือที่เรียกว่าสลุงเงิน ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ทำจากโลหะเงินและมีการแกะสลักลวดลายบนสลุง ใช้สำหรับใส่น้ำ ซึ่งส่วนมากได้ถูกใช้ในพิธีรดน้ำดำหัวและสรงน้ำพระ