ขนมไทย -- ทองหยอด

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

ขนมไทย -- ทองหยอด

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ขนมไทย -- ทองหยอด

คำศัพท์Associated

ขนมไทย -- ทองหยอด

3 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for ขนมไทย -- ทองหยอด

3 results directly related Exclude narrower terms

งานพิธีไหว้เจ้าพระภูมิเจ้าที่ (28 พฤศจิกายน 2560)

เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้การทำงานราบรื่น จึงมาเซ่นบรวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และสิ่งศักด์สิทธิ์

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

เครื่องเซ่น

เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้การทำงานราบรื่น จึงมาเซ่นบรวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และสิ่งศักด์สิทธิ์
ความหมายของกลิ่นธูปหอม

  1. กลิ่นกฤษณา ไม้กฤษณาเป็นไม้หอมมีค่าเทียบเท่ากับทองคำ
  2. กลิ่นกุหลาบ กลิ่นกุหลาบเป็นกลิ่นหอมชั้นสูง ช่วยกระตุ้นจิตวิญญานให้สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ใช้ธูปชนิดนี้มักจะจุดธูปเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้จิตสงบนิ่งมั่นคง
  3. กลิ่นแก่นจันทน์ กลิ่นแก่นจันทน์เป็นกลิ่นที่นิยมใช้กันมาหลายพันปี กลิ่นธูปหอมกรุ่นนี้ช่วยเปลี่ยนให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและการรับรู้ที่ดี กลิ่นธูปหอมพิเศษชนิดนี้ มักถูกใช้ในการนั่งสมาธิและฝึกโยคะ
  4. กลิ่นกำยาน ธูปกลิ่นกำยานนี้ กลิ่นลึกลับ ลึกซึ้ง ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่รายล้อม เปรียบดั่งความหอมจากวัดและราชสำนักชั้นสูง กลิ่นหอมที่เข้มข้นนี้ยังช่วยส่งเสริมให้มีสติ สร้างพลังและความกระตือรือร้น
  5. กลิ่นจันทน์กระพ้อ กลิ่นจันทน์กระพ้อ ดอกไม้พิเศษจากโลกตะวันออก เป็นกลิ่นที่ผสมผสานความหอมหวานของดอกไม้นานา ของชาวตะวันออก สรรค์สร้างกลิ่นเพื่อความเบิกบานอิ่มเอมใจ จุดธูปชนิดนี้ ช่วยให้มีสมาธิ ช่วยย้ำให้เกิดความสงบในใจ
  6. กลิ่นดอกแก้ว กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของธูปชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้ในวัดและพิธีกรรมทางศาสนา และยังเป็นกลิ่นที่เหมาะในการทำสมาธิ กลิ่นหอมหวานของธูปชนิดนี้ ช่วยให้ใจจดจ่อและกระตุ้นจิตให้รับรู้
  7. กลิ่นมะลิ มะลิ เป็นราชินีของดอกไม้หอมทั้งมวล กลิ่นมะลิเป็นกลิ่นอ่อนๆที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำสมาธิ สำหรับผู้ชื่นชอบการจุดธูประยะเวลานานๆ กลิ่นที่ผสมผสานพิเศษนี้เหมาะอย่างยิ่งเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แนะนำอย่างยิ่งในการนั่งสมาธิ
  8. กลิ่นผงธูป (ไม่มีน้ำหอม) ธูปกลิ่นธรรมชาติเป็นธูปที่ผลิตจากผงไม้ธรรมชาติ เป็นธูปผงไม้ไร้กลิ่น ไม่ใส่น้ำหอม

ความหมายของขนมไทยที่นำมาเซ่นไหว้

  1. ขนมถ้วยฟู มีลักษณะปุย เนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขมแตกฟูออก มีหลากหลายสี มีความหมายคือ เฟื่องฟู งอกงาม
  2. ขนมสาลี่ มีลักษณะเนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขนมที่แตก ฟูสวยงามเป็นแฉกๆเหมือนดอกฝ้ายที่แตกออกจากฝัก ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
  3. ขนมต้ม ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ มีมะพร้าวขูดโรยหน้า มีสีสันที่หลากหลาย ถวายเพื่อขอพรให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวาง
  4. ขนมชั้น มีลักษณะเป็นชั้น ให้ได้ 9 ชั้น มีสีที่แตกต่างกัน น สีเขียว สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น ขนมชั้น หมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง 9 ชั้น ถือเคล็ดกันว่าจะได้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง
  5. ขนมทองหยิบ เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่งมีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ขนมทองหยิบ หมายถึง มีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
  6. ทองหยอด มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองทอง แวววาว มีความหมายคือ เงินทองมีใช้ไม่ขาดสาย
  7. ฝอยทอง มีลักษณะเป็นเส้นนิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้นต้องปล่อยให้เป็น เส้นยาวๆ เพื่อที่คู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่ และรักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป รวมถึงชีวิตยืนยาวด้วยเช่นกัน
  8. ขนมทองเอก มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่น กว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม มีความหมายคือ ความร่ำรวย
  9. ขนมเม็ดขนุน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด ความหมายคือ ความร่ำรวยเงินทอง ลาภ ยศ

ความหมายของผลไม้ที่นำมาเซ่นไหว้

  1. ส้ม เป็นผลไม้แห่งความเป็นสิริมงคล ต้องเลือกส้มที่มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทอง เหตุเพราะ “สีทอง” เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส้มสายพันธุ์พิเศษอะไร ขอให้มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทองก็เป็นอันใช้ได้
  2. แก้วมังกร ผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับแก้วมังกร ตามคติความเชื่อของชาวจีนจะนับถือมังกรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบรูณ์ แถมเปลือกที่เป็นสีแดงของแก้วมังกรนั้นเป็นสีมงคล เป็นสีแห่งโชคลาภที่จะนำพาความโชคดีมาให้แก่ผู้ไหว้ แนะนำว่าหากเลือกผลที่มีสีข้างในเป็นสีเข้มจะยิ่งดีเข้าไปอีกค่ะ เพราะจะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
  3. กล้วย เชื่อกันว่าเป็นผลไม้แห่งความมั่งมี แนะนำว่าเป็นกล้วยหอมทองจะดีที่สุด ด้วยลักษณะของกล้วยที่ออกเป็นเครือ จึงมีความหมายในทางมงคลว่า ทำให้ครอบครัวเจริญงอกงาม มีลูกหลานมากมายไว้สืบสกุลนั่นเองค่ะ
    4.แอปเปิ้ล เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ไหว้สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมารับประทานเพื่อเสริมมงคลให้กับชีวิต
  4. ทับทิม เชื่อกันว่าหากไหว้ด้วยทับทิมจะช่วยเสริมในเรื่องของครอบครัวนั่นเองค่ะ จะทำให้คนในครอบครัวนั้นรักใคร่กัน อยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น ไม่มีเรื่องขัดแย้งหรือบาดหมางกัน
  5. องุ่น เชื่อกันว่าจะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า บวกกับวิตามินและสารอาหารที่อัดแน่น
  6. สัปปะรด เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ และมองการณ์ไกล
  7. สาลี่ เชื่อกันว่าจะทำให้มีโชคลาภและพบเจอแต่เรื่องดีๆ
    9.ชมพู่ เชื่อกันว่า จะได้มีคนคอยชื่นชม
  8. ส้มโอ หมายถึงผลไม้ที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ความเจริญงอกงาม ความอยู่ดีกินดี ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความเฟื่องฟู ความสมบูรณ์พูนสุข การมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ครอบครัวกลมเกลียว ความเจริญเติบโต(ของครอบครัวและการงาน)
  9. อ้อย เนื่อจากท่านพระพิฆเนศเป็นช่าง จึงควรถวายมังสวิรัติ

ไหว้เจ้าที่

บายศรี เครื่องใช้ในพิธีกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล
เมื่อพูดถึง “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยเพราะพบเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่างๆ แทบทุกภาคของไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การไหว้ครูนาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น

ความหมายของขนมไทยที่นำมาเซ่นไหว้

  • ขนมถ้วยฟู หมายถึง เฟื่องฟู งอกงาม ขนมไหว้เจ้าวันสารทจีนที่เป็นสิริมงคลอีกชนิดหนึ่ง มองภายนอกจะเห็นว่าเนื้อฟู ทำได้หลายสี แต่ส่วนใหญ่จะใช้สีชมพูในการไหว้เจ้ากัน แถมมีกลิ่นหอม อาจใส่กลิ่นมะลิ หรือกลิ่นนมแมว จะทำเป็นชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ไหว้ก็แล้วแต่ความชอบ
  • ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
  • ขนมต้ม ขนมต้มเป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด ถึงขนาดที่กินจนท้องแตกก็ยังกอบเอาขนมที่หกเลอะอยู่ที่พื้นกลับเข้าท้องอีกครั้งด้วยความเสียดาย ขนมต้มจึงเหมือนเป็นขนมที่ใช้ถวายต่อองค์พระพิฆเนศวร มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ในประเพณีสู่ขอแต่โบราณในบางท้องที่ใช้ขนมต้มด้วย เพื่อขอพรให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวางนั่นเอง
  • ขนมชั้น หมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง 9 ชั้น ถือเคล็ดกันว่าจะได้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง
  • ขนมทองหยิบ ทองหยอด ทองเอก เป็นขนมมงคล เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
  • ขนมเม็ดขนุน มีในงานมงคลต่างๆ ให้ความหมายว่า ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน ค้ำจุน ช่วยเหลือไม่มีวันตกต่ำ

ลักษณะของขนมที่ใช้ในการไหว้เจ้า

  • ฝอยทอง ลักษณะฝอยทอง เป็นเส้น ๆ พันกันเป็นทบ ๆ โดยเชื่อว่า ให้ทำขนมฝอยทองเป็นเส้นยาว ๆ ห้ามตัด หมายถึง เพื่อที่คู่บ่าว-สาว จะได้ครองรัก ครองเรือน มีชีวิตยิ่งยืน อายุยืนยาวเหมือนเส้นฝอยทอง
  • หมากพลู มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา หมากพลูในสมัยโบราณจึงเป็นตัวแทนของความเคารพ นับถือ และมิตรภาพ
  • ขนมถ้วยฟู มีลักษณะปุย เนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขมแตกฟูออก มีหลากหลายสี นิยมใช้สีชมพู ใช้ในงานอวมงคลหรือไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนิยมใช้สีขาว ในปัจจุบันยังหาทานได้ง่ายมีหลากหลายสี เช่น ชมพู เขียว ขาว ฟ้า
  • ขนมสาลี่ มีลักษณะเนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขนมที่แตก ฟูสวยงามเป็นแฉกๆเหมือนดอกฝ้ายที่แตกออกจากฝัก
  • ขนมต้ม ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ มีมะพร้าวขูดโรยหน้า มีสีสันที่หลากหลาย
  • ขนมชั้น มีลักษณะเป็นชั้น ให้ได้ 9 ชั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็น เลขสิริมงคล มีสีที่แตกต่างกัน น สีเขียว สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น
  • ขนมทองหยิบ เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่งมีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้
  • ทองหยอด มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองทอง แวววาว
  • ขนมทองเอก มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่น กว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม
  • ขนมเม็ดขนุน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด