ไหว้พระภูมิ

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

ไหว้พระภูมิ

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ไหว้พระภูมิ

คำศัพท์Associated

ไหว้พระภูมิ

8 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for ไหว้พระภูมิ

8 results directly related Exclude narrower terms

ไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่ : เจ้าหน้าที่ สพร. ไหว้สักการะ

เจ้าหน้าที่ สพร. และผู้ปฏิบัติงาน จุดธูปไหว้สักการะ ขอพรกับพระภูมิเจ้าที่ ให้การปฏิบัติงานมีความราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ

ไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่ : แม่บ้านไหว้พระภูมิ

แม่บ้าน ทั้งส่วนของอาคารสำนักงาน ตึกหน้า อาคารอเนกประสงค์ ร่วมไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และขอพรให้การทำงานมีความราบรื่น

ไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่ : รปภ. ไหว้สักการะ

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) เข้าร่วมไหว้สักการะพระภูมิเจ้าที่ เนื่องในวันครบรอบ 9 ปี การเปิดบริการมิวเซียมสยาม

งานพิธีไหว้เจ้าพระภูมิเจ้าที่ (28 พฤศจิกายน 2560)

เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้การทำงานราบรื่น จึงมาเซ่นบรวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และสิ่งศักด์สิทธิ์

ไม่ระบุชื่อเรื่อง

มาลัยดอกไม้

พวงมาลัยดอกไม้สดนำมาเพื่อเป็นการสักการะบูชาพระภมูิเจ้าที่ โดย ดอกมะลิหมายถึง พบแต่ความสุขสดชื่น ไม่ว่าจะเป็นมะลิซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลในด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป ดอกกุหลาบ หมายถึง พบแต่ความมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น

ไหว้เจ้าที่

บายศรี เครื่องใช้ในพิธีกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล
เมื่อพูดถึง “บายศรี” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยเพราะพบเห็นบ่อยในพิธีกรรมต่างๆ แทบทุกภาคของไทย เช่น การทำขวัญคน การทำขวัญข้าว การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การไหว้ครูนาฏศิลป์ดนตรี และพิธีสมโภชพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้ล้วนต้องใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น

ความหมายของขนมไทยที่นำมาเซ่นไหว้

  • ขนมถ้วยฟู หมายถึง เฟื่องฟู งอกงาม ขนมไหว้เจ้าวันสารทจีนที่เป็นสิริมงคลอีกชนิดหนึ่ง มองภายนอกจะเห็นว่าเนื้อฟู ทำได้หลายสี แต่ส่วนใหญ่จะใช้สีชมพูในการไหว้เจ้ากัน แถมมีกลิ่นหอม อาจใส่กลิ่นมะลิ หรือกลิ่นนมแมว จะทำเป็นชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ไหว้ก็แล้วแต่ความชอบ
  • ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
  • ขนมต้ม ขนมต้มเป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด ถึงขนาดที่กินจนท้องแตกก็ยังกอบเอาขนมที่หกเลอะอยู่ที่พื้นกลับเข้าท้องอีกครั้งด้วยความเสียดาย ขนมต้มจึงเหมือนเป็นขนมที่ใช้ถวายต่อองค์พระพิฆเนศวร มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ในประเพณีสู่ขอแต่โบราณในบางท้องที่ใช้ขนมต้มด้วย เพื่อขอพรให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวางนั่นเอง
  • ขนมชั้น หมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง 9 ชั้น ถือเคล็ดกันว่าจะได้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง
  • ขนมทองหยิบ ทองหยอด ทองเอก เป็นขนมมงคล เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
  • ขนมเม็ดขนุน มีในงานมงคลต่างๆ ให้ความหมายว่า ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน ค้ำจุน ช่วยเหลือไม่มีวันตกต่ำ

ลักษณะของขนมที่ใช้ในการไหว้เจ้า

  • ฝอยทอง ลักษณะฝอยทอง เป็นเส้น ๆ พันกันเป็นทบ ๆ โดยเชื่อว่า ให้ทำขนมฝอยทองเป็นเส้นยาว ๆ ห้ามตัด หมายถึง เพื่อที่คู่บ่าว-สาว จะได้ครองรัก ครองเรือน มีชีวิตยิ่งยืน อายุยืนยาวเหมือนเส้นฝอยทอง
  • หมากพลู มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา หมากพลูในสมัยโบราณจึงเป็นตัวแทนของความเคารพ นับถือ และมิตรภาพ
  • ขนมถ้วยฟู มีลักษณะปุย เนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขมแตกฟูออก มีหลากหลายสี นิยมใช้สีชมพู ใช้ในงานอวมงคลหรือไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนิยมใช้สีขาว ในปัจจุบันยังหาทานได้ง่ายมีหลากหลายสี เช่น ชมพู เขียว ขาว ฟ้า
  • ขนมสาลี่ มีลักษณะเนื้อเหมือนเค้กสปันจ์หรือเค้กเนื้อฟองน้ำ หน้าขนมที่แตก ฟูสวยงามเป็นแฉกๆเหมือนดอกฝ้ายที่แตกออกจากฝัก
  • ขนมต้ม ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ มีมะพร้าวขูดโรยหน้า มีสีสันที่หลากหลาย
  • ขนมชั้น มีลักษณะเป็นชั้น ให้ได้ 9 ชั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็น เลขสิริมงคล มีสีที่แตกต่างกัน น สีเขียว สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น
  • ขนมทองหยิบ เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่งมีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้
  • ทองหยอด มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองทอง แวววาว
  • ขนมทองเอก มีลักษณะที่สง่างาม โดดเด่น กว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่นๆ ตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม
  • ขนมเม็ดขนุน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด

ขอพร

การจุดธูปบนอาหาร เป็นการนำอาหารมาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการจุดธูปเพื่อระบุว่าไหว้ให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น เพื่อไม่ให้สัมภเวสีมารับประทาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ธูปที่มีกลิ่นหอม ซึ่งหมายถึง ผู้ใดที่สูดกลิ่นของธูปเข้าไปจะทำให้จิตใจปราศจากกิเลส

เซ่นเจ้าที่

การจุดธูป 9 ดอก : เป็นการจุดธูปบูชาผู้มีพระคุณพระภูมิเจ้าที่ เทพ เจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา ศาลพระภูมิ ศาลเทพ

ความหมายของกลิ่นธูปหอม

  1. กลิ่นกฤษณา ไม้กฤษณาเป็นไม้หอมมีค่าเทียบเท่ากับทองคำ
  2. กลิ่นกุหลาบ กลิ่นกุหลาบเป็นกลิ่นหอมชั้นสูง ช่วยกระตุ้นจิตวิญญานให้สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ใช้ธูปชนิดนี้มักจะจุดธูปเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้จิตสงบนิ่งมั่นคง
  3. กลิ่นแก่นจันทน์ กลิ่นแก่นจันทน์เป็นกลิ่นที่นิยมใช้กันมาหลายพันปี กลิ่นธูปหอมกรุ่นนี้ช่วยเปลี่ยนให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและการรับรู้ที่ดี กลิ่นธูปหอมพิเศษชนิดนี้ มักถูกใช้ในการนั่งสมาธิและฝึกโยคะ
  4. กลิ่นกำยาน ธูปกลิ่นกำยานนี้ กลิ่นลึกลับ ลึกซึ้ง ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่รายล้อม เปรียบดั่งความหอมจากวัดและราชสำนักชั้นสูง กลิ่นหอมที่เข้มข้นนี้ยังช่วยส่งเสริมให้มีสติ สร้างพลังและความกระตือรือร้น
  5. กลิ่นจันทน์กระพ้อ กลิ่นจันทน์กระพ้อ ดอกไม้พิเศษจากโลกตะวันออก เป็นกลิ่นที่ผสมผสานความหอมหวานของดอกไม้นานา ของชาวตะวันออก สรรค์สร้างกลิ่นเพื่อความเบิกบานอิ่มเอมใจ จุดธูปชนิดนี้ ช่วยให้มีสมาธิ ช่วยย้ำให้เกิดความสงบในใจ
  6. กลิ่นดอกแก้ว กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของธูปชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้ในวัดและพิธีกรรมทางศาสนา และยังเป็นกลิ่นที่เหมาะในการทำสมาธิ กลิ่นหอมหวานของธูปชนิดนี้ ช่วยให้ใจจดจ่อและกระตุ้นจิตให้รับรู้
  7. กลิ่นมะลิ มะลิ เป็นราชินีของดอกไม้หอมทั้งมวล กลิ่นมะลิเป็นกลิ่นอ่อนๆที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำสมาธิ สำหรับผู้ชื่นชอบการจุดธูประยะเวลานานๆ กลิ่นที่ผสมผสานพิเศษนี้เหมาะอย่างยิ่งเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แนะนำอย่างยิ่งในการนั่งสมาธิ
  8. กลิ่นผงธูป (ไม่มีน้ำหอม) ธูปกลิ่นธรรมชาติเป็นธูปที่ผลิตจากผงไม้ธรรมชาติ เป็นธูปผงไม้ไร้กลิ่น ไม่ใส่น้ำหอม