หางเครื่อง

อนุกรมวิธาน

รหัส

หมายเหตุของขอบเขต

หมายเหตุแหล่งที่มา

แสดงหมายเหตุ

คำศัพท์เกียวกับลำดับชั้น

หางเครื่อง

คำศัพท์ที่เกียวข้อง

หางเครื่อง

คำศัพท์Associated

หางเครื่อง

4 คำอธิบายจดหมายเหตุ results for หางเครื่อง

4 results directly related Exclude narrower terms

จับไมค์ใส่ขนนก : เวที

เวที

วงดนตรีลูกทุ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ มีทั้งนักดนตรี เครื่องดนตรี เครื่องเสียง และหางเครื่อง จึงต้องใช้พื้นที่บนเวทีมากพอสมควร แต่เดิมเวทีกลางแจ้งอาจประกอบอย่างง่าย ๆ โดยเป็นเวทีทำด้วยไม้กระดานปูบนถังน้ำมันขนาดใหญ่ เวทีสูงจากพื้นประมาณ 2 - 2.5 เมตร ทั้งนี้ต้องไม่สูงเกินไปนัก เพื่อให้แฟนเพลงได้คล้องพวงมาลัยนักร้อง ด้านหน้าเวทีติดตั้งหลอดไฟหลากสี ฉากหลังมีชื่อวงดนตรี หรือชื่อนักร้องขนาดใหญ่พร้อมประดับไฟให้ดูเด่น ด้านหลังเวทีใช้เป็นที่แต่งตัวของหางเครื่องและเป็นที่เตรียมตัวของนักร้อง แต่ในปัจจุบันได้มีการประกอบเวทีชั่วคราวกลางแจ้งอย่างแข็งแรงมั่นคง มีอุปกรณ์เฉพาะที่ติดตั้งสะดวก ถอดประกอบง่าย โดยวงดนตรีที่ใหญ่ๆ อาจมีทีมงานเฉพาะสำหรับติดตั้งเวทีล่วงหน้า หรือจ้างจากบริษัทที่รับจัดงานโดยตรง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันอุบัติเหตุ

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 1

หางเครื่อง 1

วงดนตรีลูกทุ่งในปัจจุบันถือว่าหางเครื่องมีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และมีการแข่งขันสูงทางด้านความสวยงามวิจิตรตระการตา ในระยะแรกเพลงลูกทุ่งยังไม่มีหางเครื่องเหมือนดังเช่นปัจจุบัน หางเครื่องในอดีตหมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก แทมบูรีน ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ด้านหลังของวงดนตรี เนื่องจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรก ใช้เวลา 3 - 4 ชั่วโมง มีรีวิวประกอบเพลงไม่มากนัก จึงให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะให้จังหวะต่างๆ ประกอบการร้อง ของนักร้องหน้าเวที และช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น เรียกกันว่า "เขย่าเครื่องเสียง" หรือ "เขย่าหางเครื่อง"

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 2

หางเครื่อง 2

จินตนา ดำรงค์เลิศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง หางเครื่อง โดยนำมาจากหนังสือ "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2" ตอนหนึ่งมีใจความว่า ในตอนแรกผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่อง มีทั้งหญิงและชาย บางครั้งเป็นตัวตลกประจำวง ต่อมา จึงพัฒนาขึ้น โดยใช้หญิงสาวสวย ๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ยังไม่ออกลีลาเต้น การแต่งกายสุดแล้วแต่เจ้าตัวจะใส่ ต่อมาช่วง พ.ศ. 2509 - 2510 ผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่องประกอบจังหวะการร้องเพลงลูกทุ่ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4 - 7 คน การแต่งกายเหมือนกันโดยใช้ชุดเดียวตลอดการแสดง วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ และวงสมานมิตร เกิดกำแพง มีหางเครื่องเป็นที่กล่าวขวัญ ต่อมาวงดนตรีของศรีนวล ภรรยาของสุรพล สมบัติเจริญ ได้จัดผู้เต้นระบำประกอบเพลงโดยใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน มีลีลาการเต้นแบบระบำฮาวาย หลังจากนั้น วงดนตรีลูกทุ่งก็ได้มีการแข่งขันด้านหางเครื่อง การแสดงของวงดนตรีใหญ่ๆ จะมีหางเครื่องเต้นประกอบทุกเพลง และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทุกเพลง จำนวนผู้เต้นประมาณ 15 - 16 คน แต่ถ้าเป็นเพลงเด่นจะมีถึง 40 คน

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 3

หางเครื่อง 3

เมื่อ พ.ศ. 2518 ศกุนตลา พรหมสว่าง คู่ชีวิตของ เพลิน พรหมแดน ติดตาติดใจเครื่องทรงของโฟลี แบร์แฌร์ (Folies Bergeres) และ มูแลงรูจ (Moulin Rouge) เมื่อคราวไป "ดูงาน" ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาดัดแปลงใช้กับชุดหางเครื่องเพลงลูกทุ่งเป็นครั้งแรก จนเกิดเป็น "เทรนด์" ที่ปลุกกระแสแฟชั่นไปทั่ววงการ จากเพลงลูกทุ่งปกติธรรมดาจึงกลายเป็น "ศิลปะการแสดงระดับโลก หางเครื่องนับร้อย นุ่งน้อย ห่มนิด ฟิตเปรี๊ยะ" โดยจัดแสดงครั้งแรกในช่วงท้ายคอนเสิร์ตของ เพลิน พรมแดน