ผลไม้—กล้วยหอม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ผลไม้—กล้วยหอม

Equivalent terms

ผลไม้—กล้วยหอม

Associated terms

ผลไม้—กล้วยหอม

1 Archival description results for ผลไม้—กล้วยหอม

1 results directly related Exclude narrower terms

เครื่องสักการะ

เนื่องด้วย วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันครบรอบการเปิดมิวเซียมสยาม และในวันที่ 2 เมษายน 2562 นี้มิวเซียมสยามมีอายุครบ 11 ปี ทางหน่วยงานจึงจัดพิธีทางศาสนาขึ้น เป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและให้การทำงานราบรื่น จึงมีการเซ่นบรวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และสิ่งศักด์สิทธิ์

ความหมายของผลไม้ที่นำมาเซ่นไหว้ มีดังนี้

  1. ส้ม เป็นผลไม้แห่งความเป็นสิริมงคล ต้องเลือกส้มที่มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทอง เหตุเพราะ “สีทอง” เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นส้มสายพันธุ์พิเศษอะไร ขอให้มีเปลือกสีส้ม หรือสีเหลืองทองก็เป็นอันใช้ได้
  2. แก้วมังกร ผลไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับแก้วมังกร ตามคติความเชื่อของชาวจีนจะนับถือมังกรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบรูณ์ แถมเปลือกที่เป็นสีแดงของแก้วมังกรนั้นเป็นสีมงคล เป็นสีแห่งโชคลาภที่จะนำพาความโชคดีมาให้แก่ผู้ไหว้ แนะนำว่าหากเลือกผลที่มีสีข้างในเป็นสีเข้มจะยิ่งดีเข้าไปอีกค่ะ เพราะจะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
  3. กล้วย เชื่อกันว่าเป็นผลไม้แห่งความมั่งมี แนะนำว่าเป็นกล้วยหอมทองจะดีที่สุด ด้วยลักษณะของกล้วยที่ออกเป็นเครือ จึงมีความหมายในทางมงคลว่า ทำให้ครอบครัวเจริญงอกงาม มีลูกหลานมากมายไว้สืบสกุล
    4.แอปเปิ้ล เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ไหว้สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมารับประทานเพื่อเสริมมงคลให้กับชีวิต
  4. องุ่นแดง เชื่อกันว่าจะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า บวกกับวิตามินและสารอาหารที่อัดแน่น
  5. สัปปะรด เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ และมองการณ์ไกล
  6. สาลี่ เชื่อกันว่าจะทำให้มีโชคลาภและพบเจอแต่เรื่องดีๆ
  7. ส้มโอ หมายถึงผลไม้ที่ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ความเจริญงอกงาม ความอยู่ดีกินดี ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความเฟื่องฟู ความสมบูรณ์พูนสุข การมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ครอบครัวกลมเกลียว ความเจริญเติบโต(ของครอบครัวและการงาน)
  8. มะพร้าวแสดงถึงตัวตนแห่งพระเป็นเจ้า เปลือกนอกคือส่วนแข็ง ใช้ในการป้องกันสิ่งชั่วร้ายสิ่งไม่ดี เนื้อในที่หวานหอม เปรียบพระเมตตาของพระองค์ ส่วนน้ำมะพร้าวถือเป็นส่วนที่บริสุทธิ์ที่สุด หมายถึงหัวใจของพระเจ้าที่บริสุทธิ์
  9. อ้อย เนื่องจากท่านพระพิฆเนศเป็นช้าง จึงควรถวายมังสวิรัติ และอีกหนึ่งความเชื่อคือ อ้อยเป็นพืชที่ใช้ในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้กลายเป็นดีของผู้คนชาวล้านนา
  10. หมากพลู มีความเชื่อว่าเป็นของวิเศษมาแต่โบราณกาล สามารถแก้คุณไสย มนต์ดำได้ และสามารถกลายเป็นพระธาตุ ถ้าผู้เคี้ยวเป็นผู้มีบุญมาก และยังสามารถไปทำเป็นของขลังได้ อานุภาพมากมาย

ความหมายของขนมหวานที่นำมาเซ่นไหว้ มีดังนี้

  1. ขนมต้มขาว หรือขนมต้มแดง เป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด ถึงขนาดที่กินจนท้องแตกก็ยังกอบเอาขนมที่หกเลอะอยู่ที่พื้นกลับเขาท้องอีกครั้งด้วยความเสียดาย ขนมต้มจึงเหมือนเป็นขนมที่ใช้ถวายต่อองค์พระพิฆเนศวร เพื่อขอพรจากพระองค์ท่าน ให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวาง
  2. ขนมชั้น หมายถึง ทำให้มีสิริมงคลก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่ หรือตำแหน่งชั้นยศที่สูงขึ้น ได้รับการเลื่อนขั้น
  3. เม็ดขนุน ความหมายคือ มีคนคอยเกื้อหนุนจุนเจือ มีคนช่วยเหลือสนับสนุนไม่ว่าทางด้านการงานหรือเรื่องการใช้ชีวิต
  4. ทองหยิบ ความหมายสื่อถึงความมั่งคั่งร่ำรวย มีเงินมีทองใช้ไม่ขาดมือ หมายถึงการหยิบเงินหยิบทองเพื่อความรุ่งเรือง
  5. ทองหยอด ความหมายสื่อถึงทอง อวยพรให้คู่บ่าวสาวร่ำรวยเงินทอง
  6. ฝอยทอง ความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง
  7. ขนมถ้วยฟู หรือ ขนมปุยฝ้าย ความหมายคือ ความเจริญรุ่งเรือง ความเฟื่องฟู และความรุ่งเรือง
  8. ขนมหม้อแกง ในสมัยเริ่มแรกนั้น เรียกว่า ขนมกุมภมาศ หรือ ขนมหม้อทอง มาจากคำว่า กุมภ แปลว่า หม้อ และ มาศ แปลว่า ทอง