วงดนตรีลูกทุ่ง

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

วงดนตรีลูกทุ่ง

Equivalent terms

วงดนตรีลูกทุ่ง

Associated terms

วงดนตรีลูกทุ่ง

5 Archival description results for วงดนตรีลูกทุ่ง

Only results directly related

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 1

หางเครื่อง 1

วงดนตรีลูกทุ่งในปัจจุบันถือว่าหางเครื่องมีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และมีการแข่งขันสูงทางด้านความสวยงามวิจิตรตระการตา ในระยะแรกเพลงลูกทุ่งยังไม่มีหางเครื่องเหมือนดังเช่นปัจจุบัน หางเครื่องในอดีตหมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก แทมบูรีน ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ด้านหลังของวงดนตรี เนื่องจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรก ใช้เวลา 3 - 4 ชั่วโมง มีรีวิวประกอบเพลงไม่มากนัก จึงให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะให้จังหวะต่างๆ ประกอบการร้อง ของนักร้องหน้าเวที และช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น เรียกกันว่า "เขย่าเครื่องเสียง" หรือ "เขย่าหางเครื่อง"

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 2

หางเครื่อง 2

จินตนา ดำรงค์เลิศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง หางเครื่อง โดยนำมาจากหนังสือ "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2" ตอนหนึ่งมีใจความว่า ในตอนแรกผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่อง มีทั้งหญิงและชาย บางครั้งเป็นตัวตลกประจำวง ต่อมา จึงพัฒนาขึ้น โดยใช้หญิงสาวสวย ๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ยังไม่ออกลีลาเต้น การแต่งกายสุดแล้วแต่เจ้าตัวจะใส่ ต่อมาช่วง พ.ศ. 2509 - 2510 ผู้ที่ออกมาเขย่าหางเครื่องประกอบจังหวะการร้องเพลงลูกทุ่ง มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4 - 7 คน การแต่งกายเหมือนกันโดยใช้ชุดเดียวตลอดการแสดง วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ และวงสมานมิตร เกิดกำแพง มีหางเครื่องเป็นที่กล่าวขวัญ ต่อมาวงดนตรีของศรีนวล ภรรยาของสุรพล สมบัติเจริญ ได้จัดผู้เต้นระบำประกอบเพลงโดยใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน มีลีลาการเต้นแบบระบำฮาวาย หลังจากนั้น วงดนตรีลูกทุ่งก็ได้มีการแข่งขันด้านหางเครื่อง การแสดงของวงดนตรีใหญ่ๆ จะมีหางเครื่องเต้นประกอบทุกเพลง และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทุกเพลง จำนวนผู้เต้นประมาณ 15 - 16 คน แต่ถ้าเป็นเพลงเด่นจะมีถึง 40 คน

จับไมค์ใส่ขนนก : ผู้ชม

ผู้ชม

การแสดงความนิยมชมชอบของผู้ชม ที่มีต่อนักร้องที่ตนชื่นชอบ คือ การช่วยสนับสนุน ซื้อผลงานของนักร้องผู้นั้น หรือการซื้อบัตรชมการแสดง ซึ่งเวลาชมการแสดงของนักร้อง ที่ตนนิยม นอกจากจะปรบมือแสดงความชื่นชมแล้ว ยังมีการมอบสิ่งของ เช่น พวงมาลัยคล้องคอ ของขวัญ ให้นักร้องในเวลาที่ร้องเพลงจบ หรือในช่วงที่ดนตรีบรรเลงคั่นเพลง พวงมาลัยมีทั้งแบบที่ซื้อจากหน้างาน ซึ่งมักเป็นการจำหน่ายของวงดนตรีวงนั้น ๆ เอง หรือเจ้าภาพนำมาจำหน่าย และแบบที่ผู้ชมจัดเตรียมมาเอง รูปแบบของพวงมาลัยอาจแบ่งได้ 4 ลักษณะ ได้แก่

1) พวงมาลัยที่ทำจากดอกไม้สด เช่น ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ และอื่นๆ
2) พวงมาลัยที่ทำจากริบบิ้นคล้องกันเป็นลูกโซ่
3) พวงมาลัยที่ทำจากธนบัตร และ
4) พวงมาลัยที่มีลักษณะผสมผสานกัน เช่น พวงมาลัยดอกดาวเรืองติดธนบัตร

จับไมค์ใส่ขนนก : การตั้งวงดนตรี

การตั้งวงดนตรี

การตั้งวงดนตรีลูกทุ่งวงหนึ่ง ๆ มักมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ นายทุน หรือเจ้าของบริษัทแผ่นเสียง เทปเพลง ที่ออกเงินทุน ให้กับวงดนตรี หรือนักร้องเป็นผู้ตั้งวงดนตรีเอง ต่อไปคือ นักร้อง ผู้จัดการวงดนตรี ที่จะคอยนัดหมายการแสดงให้กับวง นักดนตรี นักร้องคนอื่นๆ ในวง ตลก เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค การทำฉาก แสง สี เสียง เจ้าหน้าที่ขนย้าย ขนเครื่องดนตรี ขนย้ายฉาก หางเครื่อง แม่ครัว คนขับรถ เด็กผู้ช่วยประจำวง ซึ่งวงดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ๆ อาจมีคนในวงมากกว่า 200 คน และมักเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยรถโดยสารขนาดใหญ่หลายคัน การตั้งวงดนตรีจึงจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง และจำเป็นต้องออกเดินสายตลอดปี เพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับจ่ายให้แก่สมาชิกในวง ตัวอย่างเช่น วงดนตรีของวงพิณแคนแดนอีสาน ซึ่งมี ศิริพร อำไพพงษ์ เป็นนักร้องนำ และเป็นหัวหน้าวง จำนวนคนในวงมีมากกว่า 200 คน แบ่งเป็น นักร้อง นักดนตรี หางเครื่อง หมอลำ ตลก และเด็กในวง ซึ่งกว่าร้อยละ 70 เป็นลูกหลานเครือญาติของศิริพร อำไพพงษ์ วงพิณแคนแดนอีสานจะเดินสายไปเปิดการแสดง เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ในปีถัดไป ซึ่งในช่วงดังกล่าวเข้าสู่ฤดูหนาวต่อถึงฤดูร้อน และหยุดพักในช่วงฤดูฝน วงพิณแคนแดนอีสานรับงานในลักษณะของการจ้างวงดนตรีไปแสดง หรือทางวงเปิดการแสดงเอง เรียกว่า "งานล้อมผ้า" ระหว่างการเดินสายไปตามจังหวัดต่างๆ รูปแบบการแสดงมีทั้งเป็นเพลงลูกทุ่ง สตริง ตลกอีสาน เพลงนานาชาติ ลิเกอีสาน เป็นต้น เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผู้ชมผู้ฟัง มีการคัดเลือกนักร้องคนอื่นๆ ในวงขึ้นมา เพื่อสร้างความหลากหลาย และแนวการร้อง ที่แตกต่างเป็นลักษณะเฉพาะตัว เพื่อสร้างจุดขาย และแบ่งเบาภาระของนักร้องนำ