มิวเซียมสยาม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

มิวเซียมสยาม

Equivalent terms

มิวเซียมสยาม

Associated terms

มิวเซียมสยาม

47 Archival description results for มิวเซียมสยาม

47 results directly related Exclude narrower terms

ถวายภัตตาหารเพล

อานิสงส์การถวายภัตตาหารและจตุปัจจัยไทยธรรม ได้แก่

  1. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย อายุ คือ มีอายุขัยยืนยาวปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
  2. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย วรรณะ คือ มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส เป็นที่ดึงดูดตา ดึงดูดใจ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้พบเห็น ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งโอกาสและโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
  3. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย สุขะ คือ มีความสุขทั้งกายและใจ มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง เบิกบานอยู่เป็นนิจ
  4. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย พละ คือ มีเรี่ยวแรงมหาศาล เป็นที่เคารพยำเกรงของมหาชนทั้งหลาย
  5. เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ปฏิภาณ คือ มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด หลักแหลม รอบรู้ในสรรพวิชาทั้งปวง
  6. เมื่อสละความตระหนี่ออกจากใจและทำบุญถูกเนื้อนาบุญ ย่อมเป็นเหตุให้ทรัพย์สมบัติบังเกิดขึ้นโดยง่าย
  7. เป็นที่เคารพรักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
  8. เดินทางไป ณ สถานที่แห่งใดย่อมได้รับการต้อนรับอย่างดี
  9. เป็นผู้มีกำลังใจในการสร้างบารมีอย่างไม่สิ้นสุด

ถวายสังฆทาน

อานิสงส์การถวายสังฆทาน
สังฆทานคือทานที่มุ่งเจาะจงไปในหมู่สงฆ์โดยไม่เลือกถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่ง ถวายให้เป็นสิทธิ์กลางแด่คณะสงฆ์ เพื่อคณะสงฆ์จะจัดสรรแบ่งปันต่อไป การถวายสังฆทานแม้ถวายพระภิกษุเพียงรูปเดียว แต่ถ้าท่านมารับถวายในนามตัวแทนสงฆ์ก็จัดว่าเป็นสังฆทานเช่นกัน

สังฆทาน...เป็นทานที่ขยายใจให้กว้างไปในความเป็นหมู่คณะ คือ เพื่อให้เป็นประโยชน์แด่สงฆ์โดยส่วนรวม ไม่เหมือนปาฏิบุคลิกทาน ซึ่งเป็นทานที่เลือกถวายเจาะจงแด่พระที่ค้นุ เคยหรือที่ตนศรัทธาเท่านั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่ามีผลมากกว่าปาฏิบุคลิกทานดังนี้

“เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าสังฆทานด้วยปริยายอะไร ๆ เลย สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า”

การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะสังฆทานเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน
ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใดผู้ถวายทานก็มักจะบอกหรือเขียนชื่อนามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ

พระภูมิ

ประวัติของศาลพระภูมิมีตำนานเล่าขาลมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ในสมัยของพระเจ้าทศราชครองเมืองพาลี ที่ทรงมีพระมเหสีนามว่า นางสันทาทุกข์ และทรงได้คลอดโอรส 9 พระองค์ นามว่า พระชัยมงคล พระนครราช พระเทเพน พระชัยสพ พระคนธรรพ์ พระธรรมโหรา พระวัยทัต พระธรรมิราช และพระทาษธารา ซึ่งทั้งหมดมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภูมิเหมือนกัน หหลังจากเติบใหญ่พระเจ้าทศราชทรงให้ออกครองภูมิสถานประจำในสถานที่ต่างๆกัน เมื่อครั้งกาลเวลาผ่านไปจนสิ้นอายุขัยพระโอรสทั้ง 9 องค์ก็ยังทรงครองภูมิตัวเองอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น พระองค์ทรงขอพื้นที่ของพระภูมิจากโอรสทั้ง 9 แต่ด้วยเหตุที่ทำให้โอรสทั้ง 9 ต้องออกจากภูมิตัวเองจึงเป็นที่ลำบากจนต้องขอกลับมาอยู่ที่ภูมิของตนจากพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตพร้อมได้พรว่า ผู้ที่จะกระทำการใดๆที่เกี่ยวกับพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ ควรสักการบูชาพระภูมิเสียก่อน จึงจะได้รับความสุข และลาภผลในตน ตั้งแต่นั้นมาก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหากมีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นดินหรือสถานที่จึงมักมีการสักการะพระภูมิเสมอ

ด้วยเหตุนี้ พระภูมิจึงเป็นความเชื่อของคนไทย และชาวพุทธทั่วไปถึงพิธีมงคลที่ทำต่อพื้นดินหรือสถานที่ต่างๆต้องมีการสักการะพระภูมิเสมอ โดยมีหลักความเชื่อต่อมาว่าควรจัดทำบ้านจำลอง วังจำลองหรือที่เราเรียกว่า ศาลพระภูมิ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของพระภูมิไว้สำหรับเป็นสถานสักการะหากมีพิธีมงคลต่างๆ โดยมีความเชื่อว่า พื้นดินหรือสถานที่ต่างๆ จะมีพระภูมิเฝ้าประจำในแต่ละสถานเสมอ ซึ่งมักมองภาพถึงคนที่แต่งชุดโจงกระเบนสีขาว และสวมหมวกเป็นฉัตรปลายแหลมเสมอ ที่คอยปกปักรักษา คุ้มครองภัยอันตรายจากสิ่งอัปมงคลต่างๆไม่ให้เข้าสู่สถานที่แห่งนั้นหรือมาพบพาลสร้างสิ่งอัปมงคลแก่ผู้ถือครองที่นั้นๆ

ภาพถ่ายกิจกรรม

นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการตัวหลักของมิวเซียมสยาม จัดแสดงบนอาคารพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการตัวแรก คือเรียงความประเทศไทย ตัวถัดมาคือนิทรรศการเรียงความประเทศไทย เวอร์ชั่น 2 (ถอดรหัสไทย)

นิทรรศการ ชุด ชาย หญิง สิ่งสมมุติ (พ.ศ. 2561)

นิทรรศการ ชายหญิงสิ่งสมมุติ ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ (Gender Illumination)
วันที่ 2 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2561 เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีการจัดแสดงเรื่องราวและข้าวของจากปัจเจกชน สร้างการรับรู้ สร้างความเท่าทันต่อความเป็นไปร่วมสมัย

นิทรรศการ ชุด สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)

สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน เป็นนิทรรศการในความร่วมมือระหว่างมิวเซียมสยามและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน จัดแสดงการสักลวดลายบนร่างกายชาวไท่หย่า และชาวไผวัน จากไต้หวันและรอยสักขาลายของชาวล้านนา ประเทศไทย ภายในนิทรรศการนี้ นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของการสัก งานศิลปะ วัฒนธรรมความเชื่อของชาติพันธุ์ ความหมาย ความเหมือนความแตกต่าง ความกล้าหาญ ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน รอการรื้อฟื้นและถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนสู่ปัจจุบัน

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

Results 41 to 47 of 47