สืบจากส้วม : อึ กับความศิวิไลซ์
- TH NDMI EXH-TMP-04-03-008
- เรื่อง
- 2010
Part of แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
อึ กับความศิวิไลซ์
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระนครคลาคล่ำไปด้วย “ความทันสมัย” อย่างตะวันตก แถมยังมีประชากรที่หนาแน่นขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุงเทพฯ ใหม่ ๆ สองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อการ อึ ของชาวพระนครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บ้านเรือนเริ่มแออัดไปด้วยตึกแถวและถนน แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน ทำหาการไปทุ่ง หรือหย่อนอึที่ท่า กลายเป็นปัญหา กระแสน้ำพัดพาสิ่งปฏิกูลได้ไม่ดีนัก เกิดเป็นภาพ “แพอึ” ลอยเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ
สภาพความโสโครกที่เกิดขึ้นทั่วพระนคร บั่นทอนความี “ศิวิไลซ์” ยิ่งนัก จำเป็นที่หลวงต้องหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง
อึ ให้เป็นที่ สร้างราสีให้บ้านเมือง
ตราบที่ ชาวพระนครยัง “ไปทุ่ง” “ไปท่า” กันตามอำเภอใจสยามก็คงจะถูกติเตียนจากชาวตะวันตกไม่จบสิ้น ดังนั้น ในราวกลางรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการจัดตั้ง “กรมสุขาภิบาล” ขึ้น ทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของบ้านเมือง ออกกฎให้ทุกคนต้อง “อึ” ในส้วม และบ้านที่สร้างใหม่ต้องสร้างส้วมด้วย ส่วนคนที่ไม่มีส้วม หลวงท่านก็สร้าง “เว็จสาธารณะ” ไว้ให้ “ทิ้งระเบิด” ฟรี ส้วมสมัยนี้ล้วนใช้ระบบ “ถังเท” คือ เราอึใส่ถัง แล้วจะมีบริษัทเอกชนที่รัฐบาลจ้างไว้ นำถังไปเททิ้งที่อื่น โดยบริษัทที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ “บริษัทสะอาด” ซึ่งต่อมาได้ถ่ายโอนกิจการให้ “บริษัทออนเหวง”